วันพฤหัสบดีที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2558

พระราชภารกิจใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เรื่องเล่าของ พลเอกณพล บุณทับ รองสมุหราชองครักษ์

พล.อ.ณพล บุญทับ ข้าราชการบริพารที่รับใช้เบื้องพระยุคลบาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินีนาถที่ได้ รับมอบหมายให้ไปติดตามสถานการณ์ชายแดนภาคใต้ ได้ เล่าเรื่องรายเกี่ยวกับ โครงการต่างๆที่สมเด็จพระบรมราชินีนาถทรงดำเนินการ ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ไว้ดังนี้

โครงการราษฎรอาสารักษาหมู่บ้าน

โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้โครงการหนึ่ง คือ โครงการราษฎรอาสารักษาหมู่บ้านเกิดจากเมื่อปี 2547 สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถเสด็จฯเยี่ยมราษฎร ราษฎรใน 5 หมู่บ้าน ได้ เข้ามาร้องไห้กับพระองค์ท่านแล้วบอกว่าอยู่ไม่ได้ แล้ว เพราะถูกรบกวนหนัก จนมีคนในตำบลตันหยงลิมอ ถูกตัดคอคามอเตอร์ไซด์ระหว่างไปกรีดยางตอนเช้ามืด ชาวบ้านบอกว่าเหตุการณ์อย่างนี้ไม่เคยเกิดขึ้น ชาวบ้านถามพระองค์ท่านว่าจะให้พวกฉันอยู่ที่นี่ หรือจะให้ไปจากที่นี่ สมเด็จพระบรมราชินีนาถรับสั่งว่าในเมื่อเราอยู่ที่นี่ เราทำมาหากินที่นี่มาตั้งแต่ปู่ย่าตายาย แล้วจะอพยพไปที่ไหนกัน

พระองค์ท่านก็ทรงพระกรุณาบอกทหารให้ส่งคนมาช่วยฝึกอาวุธให้ ตามที่ชาวบ้านได้ ถวายฎีกา และรับสั่งว่าที่ให้ฝึกนั้นเพื่อป้องกันตัวเอง ป้องกันทรัพย์สินพี่น้องเรากันเอง ไม่ได้ มีเจตนาให้พวกเธอเที่ยวเอาปืนไปไล่ฆ่าใครต่อใครเขา ขอให้ทำความเข้าใจกันให้ถ่องแท้ รับสั่งเสมอว่าผู้บริสุทธิ์มีสิทธิ์อยู่บนแผ่นดินนี้ มีทั้งพุทธ และมุสลิมไม่ได้ แยกเชื้อชาติศาสนา ใครขอมาก็ฝึกให้ ครูเองก็มาขอฝึก บอกว่าฝึกให้แต่ชาวบ้าน พวกครูยิ่งเสี่ยงอันตรายหนักเลย ฝึกลักษณะการรวมกลุ่มกัน ใช้อาวุธเข้าเวรยามในการรักษาหมู่บ้านซึ่งมีผลให้หมู่บ้านเกิดความปลอดภัยมากขึ้น ขณะนี้เป็นที่แน่ชัดว่ามีกลุ่มคนต้องการที่จะแบ่งแยกดินแดน เช่น มีการนำวิซีดีภำการตัดศีรษะไปแพร่ภาพในจังหวัดปัตตานี ซึ่งถือเป็นสิ่งที่น่าเป็นห่วง คนทำมีวัตถุประสงค์ให้ชาวบ้านหวาดกลัว และไม่อยากจะอยู่ในพื้นที่หากเราปล่อยเหตุการณ์ให้ลุกลามบายปลายบ้านเมืองก็จะแย่

โครงการฟาร์มตัวอย่าง

จากการฝึกอาวุธ ทุกคนก็ระวังตัวหมด ไปไหนก็ไม่กล้าไป เมื่อก่อนเคยขายของในเมือง ไปรับจ้างในเมือง ตอนนี้จะไปคนเดียวก็ไม่กล้า เลยมีรับสั่งว่าจะช่วยเขาอย่างไรในเรื่องการทำมาหากินจึงได้ เกิดโครงการฟาร์มตัวอย่างขึ้นมา เพื่อจะสร้างงานให้กับชาวบ้าน คนไหนไม่กล้าไปทำงานในเมืองก็มาทำในฟาร์มทำการเกษตร ปลูกพืชผักสวนครัว เลี้ยงสัตว์ สัตว์ปีก เช่น เป็ด ไก่ และก็มีการทำประมงในครัวเรือน วันใดไม่มีกับข้าวก็สามารถช้อนปลาเป็นอาหาร นอกจากนั้นมีการเลี้ยงแพะนม ที่มีโปรตีนสูง ให้จ้างคนเข้ามาทำงาน เพื่อจะสอนให้เรียนรู้การทำเกษตรอย่างถูกหลักวิชาการ เมื่อทำเป็นแล้วก็จะได้ นำกลับไปทำในพื้นที่ของตัวเอง ได้ ผลผลิตเหลือจากรับประทานก็นำมาขายให้ฟาร์มรับซื้อ

การจัดตั้งฟาร์มนั้นอยู่ใกล้ๆกับแหล่งชุมชนเพื่อที่เขาจะได้ มาทำงานง่ายๆอย่างในบางแห่งเป็นกลุ่มของไทยพุทธอาศัยอยู่ท่ามกลางกลุ่มไทยมุสลิม ผู้ไม่หวังดีก็ใช้วิธียุยงให้ราษฎรแตกสามัคคีกัน พระองค์ท่านทรงลงไปช่วย 30 กว่าปี ช่วยให้เขาทำมาหากินได้ ทรงทำอย่างต่อเนื่อง เช่นเรื่องน้ำ บางบ้านน่าสงสานมาก เพราะขุดขึ้นมาน้ำเป็นสนิม ดีที่ช่วงนี้เป็นหน้าฝน จึงพอบรรเทาได้ บ้าง

พระองค์ท่านทรงยอมทำทุกอย่าง เหน็ดเหนื่อยพระวรกายเพื่อคนในชาติ ซึ่งเหมือนกับลูกของพระองค์ท่าน ไม่ว่าเดือดร้อนมีปัญหาอะไร เช่นโครงการปะการังเทียม อำเภอไม้แก่น จังหวัดปัตตานี ชาวบ้านร้องไห้ว่าทำมาหากินไม่ได้ เคยทำประมงอยู่ชายฝั่ง ตอนนี้ปลาไม่มีจากนั้นตี 3 พระองค์ท่านเรียกประชุม 2 ชั่วโมงว่าจะแก้ปัญหากันอย่างไร ซึ่งมีสาเหตุจากอวนลากอวนรุน ดร.ปลอดประสพ สุรัสวดี เสนอการกำหนดระยะของการทำประมง คือ ระยะ 5 กิโลเมตรจากชายฝั่งใช้เครื่องมือตกปลาขนาดเล็ก ระยะ 5 – 10 กิโลเมตร ให้ประมงปั่นไฟ และระยะ 10 – 15 กิโลเมตร อวนลากอวนรุนดำเนินการ แล้วก็ทิ้งปะการังเทียมเพื่อป้องกันการใช้อวนที่ระยะผิดประเภทไปในตัว และให้ปลาได้ อาศัยปะการังเทียมนี้เป็นที่หลบยามลมพายุแรงๆหรือใช้ชั้ง คือทางมะพร้ามถ่วงด้วยปูนซีเมนต์เพื่อให้ปลาเกาะอยู่ชายฝั่ง

พระองค์ท่านรับสั่งว่าอยากเห็นโครงการนี้เกิดขึ้นก่อนเสด็จฯกลับ ซึ่งตอนนั้นเป็นวันที่ 24 กันยายน พระองค์ท่านเสด็จฯกลับต้นตุลาคม ทุฝ่ายก็รีบดำเนินการ นี่คือการแก้ปัญหาให้ไทยมุสลิมโดยตรง ที่ปัตตานี ไม้แก่น สายบุรี หนองจิก อำเภอเมือง ปัตตานี จนถึงตากใบ นราธิวาสพอทิ้งไป 6เดือน ปลาก็มาวางไข่ ตอนนี้ปลาชุกมาก ชาวบ้านมีกินมีใช้ สามารถนำปลาไปขายได้ กฺโลกรัมละ 200 – 300 บาท นี่ก็ด้วยพระมหากรุณาธิคุณ

พระองค์ท่านรับสั่งว่าเขาขาดเสาหลัก ตอนเป็นข้าราชการชั้นผู้น้อยยังไม่ได้ สร้างหลักปักฐาน พอสามีตายก็บ้านแตกสาแหรกขาด ไม่รู้จะทำอย่างบางคนเป็นแม่บ้าน พระองค์ท่านก็ทรงเอื้อมพระหัตถ์ลงมาชุบชีวิตคนใกล้จมน้ำให้อยู่รอด ตัวอย่างอันนี้เป็นประจักษ์พยานอย่างเห็นได้ ชัด ประธานกลางมุสลิม OIC เห็นแล้วยังเทิดพระเกียรติว่าทรงช่วยเหลืออย่างเป็นธรรม ไม่เลือกชาติศาสนา

ข้อมูลจาก : หนังสือ พระราชินีของเรา เรื่องเล่าจากแผ่นดินใต้ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้า ฯพระบรมราชินีนาถ เนื่องในมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 12 สิงหาคม 2548

พระราชกรณียกิจ ด้านสาธารณสุขและสังคมสงเคราะห์


ในพระราชพิธีสถาปนาสมเด็จพระราชินีสิริกิติ์ เมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2493 สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทรได้ทรงรับฉันทานุมัติ เป็นผู้กราบบังคมทูลถวายพระพรชัยมงคล ในพระนามของพระบรมวงศานุวงศ์ มีความตอนหนึ่งว่า

"...ได้ทรงเลือกสรรประสบผู้ที่สมควรแก่การสนองพระยุคลบาทร่วมทุกข์ แบ่งเบาพระราชภาระในภายภาคหน้า..."

ในครั้งนั้น ใครจะคิดว่าพระราชภาระของพระมหากษัตริย์ผู้เป็นพระประมุขของประเทศ ในการปกครองระบอบประชาธิปไตยนั้น นอกจากการประกอบพระราชกรณียกิจ ที่เป็นพระราชพิธี รัฐพิธี ศาสนพิธี และพระราชกรณียกิจที่กำหนดชัดเจนในรัฐธรรมนูญแห่งประเทศไทยแล้วจะยังมีพระ ราชกรณียกิจอื่นที่มากพ้นล้นเหลือประมาณอีกด้วย แต่จากวันนั้นถึงวันนี้ คนไทยก็ได้ประจักษ์ว่าพระราชกรณียกิจ ทั้งหลายทั้งปวงที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงปฏิบัติมากมายสุดจะพรรณา นั้นทรงปฏิบัติด้วยพระราชหฤทัยห่วงใยประชาชนและประเทศชาติบ้านเมือง ได้ทรงพระวิริยอุตสาหะไม่ท้อถอย ในการบำบัดทุกข์ บำรุงสุข พัฒนาอาชีพและชีวิตความเป็นอยู่ของราษฎร ทรงแก้ไขปัญหาวิกฤตของบ้านเมืองทุก ๆ ด้าน ทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ และภัยธรรมชาติ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถก็ได้ทรงแบ่งเบาพระราชภาระต่าง ๆ มาโดยตลอดโดยเฉพาะอย่างยิ่ง พระราชกรณียกิจด้านสาธารณสุข สังคมสงเคราะห์และการพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ ของราษฎรในชนบทให้มีความรู้ มีงานมีรายได้ สามารถดำรงชีวิตอย่างมีสุขอนามัย

เมื่อครั้งทรงได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระราชินีใหม่ ๆ นั้น เมื่อ เกิดอุทกภัยวาตภัย และอัคคีภัยขึ้นที่จังหวัดใด ราษฎรได้รับความเดือดร้อนสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ข้าราชบริพารฝ่ายในนำอาหาร เสื้อผ้า ยารักษาโรค สิ่งของเครื่องใช้ไปแจกจ่าย ให้แก่ผู้ที่ประสบภัยเหล่านั้นอย่างทันท่วงที เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนในเบื้องต้น

สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเป็นประธานในการประชุมการสังคมสงเคราะห์แห่งชาติ ครั้งที่ 1 ที่กรมประชาสงเคราะห์ร่วมกับองค์กรเอกชนจัดขึ้น ณ ศาลาสันติธรรม เมื่อวันที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2503 ได้มีพระราชดำรัสความตอนหนึ่งว่า

"ในขณะนี้ประเทศไทยกำลังเร่งรัดสร้างสรรค์ความเจริญ จำเป็นต้องตระหนักถึงผลทางสังคมอันจะเกิดขึ้นและเตรียมที่จะรับปัญหานั้นใน เรื่องนี้เพื่อที่จะหลีกเลี่ยงข้อขัดข้องและความผิดพลาด น่าจะศึกษาบทเรียนที่ประเทศต่าง ๆ ได้รับในระยะการพัฒนาการ ส่วนผู้ที่เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิตลอดจนผู้แทนและผู้สังเกตการณ์จากหน่วย งานหรือองค์กรสถานศึกษาต่าง ๆ นั้น ก็ควรจะ ประสานงานสอดคล้องต้องกันเพื่อพัฒนางานในด้านนั้นให้เกิดประโยชน์อันยิ่ง ใหญ่แก่ประชาชน ซึ่งเป็นกุศลบุญ ควรแก่การอนุโมทนา..."

พระราชดำรัสในเรื่องการสังคมสงเคราะห์เมื่อกว่าสี่สิบปีมาแล้วแสดงถึงความสน พระราชหฤทัยและความถี่ถ้วนรอบคอบในกิจการทั้งปวงที่หน่วยงานต่าง ๆ ควรจะต้องประสานงานกัน การศึกษาสังเกตการณ์ซึ่งได้ทรงถือปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง การสังคมสงเคราะห์ในระยะต่อมาได้ทรงค่อย ๆ เปลี่ยนจากการที่ทรง "ให้" เป็นความพยายามให้ราฏรได้ช่วยตนเองด้านการตามแนวทางและวิธีการ โดยอาศัยความรู้ความสามารถที่ราฏรมีอยู่แล้วในแต่ละท้องถิ่นแต่ได้ถูกทอด ทิ้งละลืม ให้นำมาพัฒนาใช้ให้เป็นประโยชน์

เมื่อมีการจัดตั้งสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทยขึ้นใน พ.ศ. 2503 สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเป็นประธานเปิดการประชุมหลายครั้ง ในวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2505 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงรับสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์ และพระราชทานทุนทรัพย์ตั้ง "กองทุนเมตตา" ขึ้นเมื่อทรงทราบว่า คนบางคนแม้จะตั้งใจประกอบอาชีพโดยสุจริตด้วยความขยันแล้ว แต่มีรายได้ไม่เพียงพอแก่ความจำเป็นที่ต้องใช้จ่าย จึงเดือดร้อนด้วยประการต่าง ๆ จนมีหนี้สินพอกพูนขึ้นเรื่อย ๆ ยากที่จะปลดเปลื้องได้ เกิดความเดือดร้อน เป็นความทุกข์ของครอบครัวทับถมซับซ้อน ก่อให้เกิด ปัญหาอื่น ๆ ตามมา เช่น ความเจ็บป่วยด้านจิตใจ ความเก็บกดหรือการแก้ปัญหาในทางที่ผิดของเยาวชนที่อยู่ในครอบครัวนั้น ๆ ความท้อแท้ที่จะ ศึกษาเล่าเรียน จนท้ายที่สุดกลายเป็นปัญหาของสังคม กองทุนเมตตาได้ขจัดปัดเป่าบรรเทาความทุกข์ยากของผู้ที่เดือดร้อนได้ตามวัตถุ ประสงค์ในเวลานั้น นอกจากนี้ได้พระราชทานพระราชทรัพย์จำนวนหนึ่งให้ สภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทยฯ เป็นทุนริเริ่มกองทุนพระราชทานช่วยเหลือการศึกษาเด็กเยาวชน เพื่อช่วยเหลือเด็กขาดแคลนให้มีโอกาสได้เล่าเรียน มีความรู้ไปประกอบอาชีพและดำเนินชีวิตในแนวทางที่ถูกที่ควรกองทุนนี้ต่อมา ได้มีผู้สมทบเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ และขยายเป็นทุนอื่น ๆ ที่มีวัตถุประสงค์ทำนองเดียวกันนี้อีกหลายทุน มีชื่อต่าง ๆ ได้ช่วยสร้างคนให้เป็นคนที่มีคุณค่าแก่แผ่นดินเมื่อเติบโตขึ้น นอกจากนี้ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถได้พระราชทานพระบรมราชินูปถัมภ์แก่สมาคม และมูลนิธิเพื่อการสังคมสงเคราะห์เป็นจำนวนมาก เช่น มูลนิธิช่วยเด็กปัญญาอ่อน ในพระบรมราชินูปถัมภ์ มูลนิธิอนุเคราะห์คนหูหนวกในพระบรมราชินูปถัมภ์ มูลนิธิช่วยคนตาบอดแห่งประเทศไทยในพระบรมราชินูปถัมภ์ สมาคมผู้บำเพ็ญประโยชน์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชินูปถัมภ์ เป็นต้น

นอกจากนี้ ได้ทรงส่งเสริมการปฏิบัติงานช่วยเหลือองค์กรการสังคมสงเคราะห์ เพื่อดำเนินงานสาธารณกุศล เช่น เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2506 สภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทยฯ ได้จัดตั้งศูนย์บริการอาสาสมัครขึ้น เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระของเจ้าหน้าที่ประจำของหน่วยงาน บรรเทาทุกข์หรือสาธารณประโยชน์ ได้แก่ โรงพยาบาล ศูนย์เยาวชน สถานสงเคราะห์ ฯลฯ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้คณะกรรมการและอาสาสมัครเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต เมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2510 ได้มีพระราชดำรัส ความตอนหนึ่งว่า

"...การที่คนไทยเรายึดหลักอุดมคติว่า ความทุกข์สุข ไม่ไช่เป็นเรื่องเฉพาะบุคคล หรือเฉพาะครอบครัวใดครอบครัวหนึ่งเท่านั้น เป็นความคิดที่ทันสมัยในโลกปัจจุบัน เราจะมีความสุขแต่ลำพัง โดยไม่คำนึงถึงความเดือดร้อนของคนอีกหลายคนที่แวดล้อมเราอยู่นั้นไม่ได้ผู้ มีจิตหวังประโยชน์ส่วนร่วม ย่อมรู้จักบางปันความสุขเพื่อผู้อื่น และพร้อมที่จะช่วยบรรเทาความทุกข์ของผู้อื่นตามกำลังและโอกาสเสมอ...."

ต่อมา เมื่อสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้โดยเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไปทรงเยี่ยมราษฎรในภาคต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเกิดภัยธรรมชาติ เช่น เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎรใน พ.ศ. 2513 เมื่อเกิดอุทกภัยในจังหวัดนครพนม เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฏรทางภาคกลางเมื่อเกิดน้ำท่วมใหญ่ไร่นาล่ม จมเสียหายใจ พ.ศ. 2518 รวมทั้งในระหว่างเสด็จแปรพระราชฐานไปประทับ ณ พระราชนิเวศน์ในต่างจังหวัด ได้มีพระราชดำรัสถามราษฎรที่มาเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทรับเสด็จ ทำให้ทรงทราบว่าราษฏรในชนบทจำนวนมากยากจน มีรายได้ไม่พอเลี้ยงชีพ และไม่สามารถที่จะหารายได้เพิ่ม ไม่เห็นหนทางที่จะแก้ไขความเดือดร้อนด้วยตนเอง ขาดแคลนสาธารณสุขพื้นฐานขาดสุขอนามัย ยามเจ็บไข้ก็ไม่มีแพทย์และยารักษาโรคที่จะบำบัดรักษา จึงมีพระราชดำริที่จะพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของราษฎรให้ดีขึ้น ปรากฏในคำบอกเล่าของ ดร.สุเมธ จันติเวชกุล ขณะดำรงตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมา จากพระราชดำริ (กปร.) ที่กล่าวในการอภิปรายเรื่อง "สมเด็จฯของเรา" ณ คณะแพทย์ศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2531 ซึ่งได้เชิญพระราชดำรัสของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในส่วนที่เกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ตอนหนึ่งว่า

"...พระเจ้าอยู่หัวและข้าพเจ้าไม่ได้พึงพอใจกับเพียงแต่เยี่ยมเยียนราษฏร หรือทำแต่สิ่งที่เคยทำเป็นประเพณี เราต้องพยายามให้ดีกว่านั้น เราต้องช่วยรัฐบาลส่งเสริมความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดีขึ้นเพราะเราเป็น ประเทศด้อยพัฒนา ดังนั้นการที่เพียงแค่ไปเยี่ยมเยียนราษฏรเพราะเป็นหน้าที่ของประมุขของ ประเทศที่จะต้องทำตามประเพณีนั้น เป็นเรื่องไร้สาระ หากเราไม่สามารถมีส่วนร่วมในการบรรเทาทุกข์ให้ประชาชนแล้ว เราต้องถือว่าการเป็นประมุขประสบความล้มเหลว...." 

พระราชดำรัสครั้งนั้น แสดงถึงพระราชหฤทัยอันมุ่งมั่นที่จะบรรเทาทุกข์ให้แก่ราษฏร และหากทบทวนพระราชกรณียกิจที่ได้ทรงบำเพ็ญอย่างจริงจังและต่อเนื่อง จะเห็นได้ว่า ราษฏรในชนบทได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากการเสด็จเยี่ยมทั่วราชอาณาจักรนับ ครั้งไม่ถ้วน โดยโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริหลายพันโครงการ มีทั้งโครงการเรื่องการเกษตรเรื่องน้ำ เรื่องดิน เรื่องการฟื้นฟูและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การฟื้นฟูและพัฒนางานศิลปหัตถกรรมพื้นบ้าน การแพทย์ การสาธารณสุข ฯลฯ

เพื่อส่งเสริมความเป็นอยู่ของราษฏร ในระยะแรกของการเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฏรในต่างจังหวัด เมื่อทรงพบเห็นว่าราษฏรที่มาเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทรับเสด็จ มีอาการเจ็บป่วย สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระรบมราชินีนาถได้มีพระราชเสาวนีย์ให้แพทย์ที่ตามเสด็จไปในขบวนตรวจอาหาร จ่ายยา ละให้คำแนะนำแก่ราษฏรในการดูแลรักษาตนเองแต่หากไม่สามารถวินิจฉัยโรคได้ใน ขณะนั้น หรือเป็นโรคที่ร้ายแรง จะมีพระราชเสาวนีย์ให้ส่งไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลซึ่งอยู่ใกล้ท้องถิ่น นั้น โดยพระราชทานหนังสือรับรองว่าเป็นคนไข้ในพระบรมราชานุเคราะห์พร้อมค่าเดิน ทาง และค่าใช้จ่ายที่จำเป็น ส่วนค่ารักษาพยาบาลและค่ายานั้น จะพระราชทานแก่โรงพยาบาลโดยตรง หากผู้ป่วยไม่สามารถไปเองได้จะทรงจัดเจ้าหน้าที่นำไป และพระราชทานค่าใช้จ่ายแก่เจ้าหน้าที่ด้วย ถ้าโรงพยาบาลที่อยู่ใกล้ท้องถิ่นนั้นขาดบุคลากรทางการแพทย์ หรือเครื่องมือเครื่องใช้ในการรักษา ก็ให้ส่งไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลในกรุงเทพฯ โดยพระราชทานค่าเดินทางและค่ารักษาพยาบาลทั้งหมด ในการเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฏรต่างจังหวัด หรือขณะแปรพระราชฐานไปประทับที่พระราชนิเวศน์ในภูมิภาคต่าง ๆ มีราษฏรที่เจ็บไข้มาขอรับพระราชทานความช่วยเหลือเป็นจำนวนมาก ต้องมีแพทย์และพยาบาลอาสาไปช่วยปฏิบัติงานเพิ่มขึ้น แล้วยังใช้เวลามากขึ้นจนมืดค่ำ หลายครั้งที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และพระราชโอรสและพระราชธิดา ทรงช่วยซักถามประวัติและอาการของผู้ป่วย ตลอดจนช่วยแพทย์ในการจ่ายยา และการบันทึกเพื่อติดตามผล นอกจากนี้โรงพยาบาลในท้องถิ่นมักมีความจำกัดในเครื่องเวชภัณฑ์และยารักษาโรค สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ จึงพระราชทานพระราชทรัพย์ เพื่อจัดซื้อเครื่องมือเครื่องใช้และยาเพิ่มขึ้น หน่วยงานต่าง ๆ ได้ร่วมช่วยเหลือคนไข้ในพระบรมราชานุเคราะห์ เช่น ตำรวจตระเวนชายแดนนำคนไข้ไปส่งโรงพยาบาลการรถไฟแห่งประเทศไทย ออกใบเบิกทางให้คนไข้และญาติแทนค่าโดยสารโรงพยาบาล ลดค่ารักษาพยาบาลให้ ฯลฯ ในระหว่างที่ราษฏรผู้เจ็บป่วย ต้องจากบ้านไปรับการรักษาที่โรงพยาบาล สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถเข้าพระราชหฤทัย ถึงความรู้สึกของคนไข้เป็นย่างดีว่าย่อมจะว้าเหว่ เกิดความอ่อนแอทางจิตใจ ซึ่งจะมีผลต่อสุขภาพทางกายเป็นอันมาก และคนในครอบครัวก็ย่อมจะห่วงใย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้ญาติผู้ใกล้ชิดติดตามไป เพื่อช่วยดูแลคนไข้และพราชทานค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ให้ด้วย

ข้อมูลจาก www.belovedqueen.com

พระราชกรณียกิจด้านศาสนา


พระมหากษัตริย์ไทยทรงเป็นพุทธมามะกะ และเป็นอัครศาสนูปถัมภก ประชาชนมีสิทธิและเสรี ในการนับถือศาสนา ตามที่ตนเชื่อ และศรัทธา

สมเด็จพระบรมราชินีนาถทรงตระหนักว่า ศาสนาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจของมนุษย์มิให้ประพฤติปฎิบัติในสิ่งที่เป็น ความชั่ว และเป็นแนวทางให้มนุษย์เลือกกระทำแต่ความดี จึงทรงตระหนักถึงความสำคัญในการอุปถัมภ์ศาสนา นอกจากจะทรงเป็นพุทธศาสนิกชน ที่ปฏิบัติพระราชกรณียกิจทางศาสนาโดยสม่ำเสมอแล้ว


ยังทรงทะนุบำรุงศาสนาต่าง ๆ ในประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นศาสนาพุทธ คริสต์ อิสลาม พราหมณ์ฮินดู และ ซิกข์ เพราะทรงถือว่าทุกศาสนาต่างก็มีความสำคัญในฐานะเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ ของประชาชนเช่นเดียวกัน ดังนั้น คราวใดที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปในงานพระราชพิธี หรือทรงประกอบพระราชกรณียกิจเกี่ยวกับศาสนา สมเด็จพระบรมราชินีนาถมักจะโดยเสด็จเสมอไม่ว่าจะเป็นพิธีของศานาใด บางครั้งก็เสด็จพระราชดำเนินโดยลำพังพระองค์เอง ทรงปฎิบัติพระราชกรณียกิจด้วยความเคารพในประเพณีของศาสนานั้น ๆ อย่างดียิ่ง

สมเด็จพระบรมราชินีนาถ มีพระราชศรัทธาในพระพุทธศาสนามาตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ ด้วยทรงรับการอบรบพื้นฐานความรู้เรื่องศาสนามาจากพระบิดาพระมารดา คือ พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นจันทร์บุรีสุรนาถ และหม่อมหลวงบัว กิตกิยากร ทรงเป็นพุทธศานาสนิกชนที่เคร่งครัดทรงเคารพนอบน้อมในพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ทรงบำเพ็ญกุศลทาง เช่น ทรงบาตร ทรงเก็บดอกไม้มาบูชาพระ ทรงสวดมนต์บูชาพระรัตนตรัยได้ตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ มีน้ำพระราชหฤทัยเอื้อเฟื้อเผื้อแผ่ ทรงยึดมั่นในสัจจะ อยู่ในโอวาทครูอาจารย์ พระบิดามารดา

เมื่อเข้าสู่พระราชพิธีราชาพิเษกสมรส และทรงดำรงพระราชอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมราชินีนาถแล้ว ได้ทรงศึกษาและปฏิบัติตามหลักธรรมในพระบวรพุทธศาสนามากขึ้น ทรงยกย่องเทิดทูนพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นผู้พระราชทานความรู้แก่พระองค์ในทุก ๆ ด้าน โดยเฉพาะด้านพระพุทธศาสนา ได้โดยเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไปทรงนมัสการและสนทนาธรรมกับพระ เถรานุเถระอยู่เสมอ ทรงใช้หลักธรรมเป็นแนวปฏิบัติทั้งในส่วนพระองค์และในฐานะสมเด็จพระบรม ราชินีนาถ ดังพระราชดำรัสที่พระราชทานแก่กลุ่มนักข่าวหญิง เมื่อ พ.ศ. 2524 ว่า

"....ฉันรู้สึกว่า ชีวิตของฉันทั้งโดยฐานะส่วนตัว และในฐานะที่เป็นพระราชินี ถ้าเผื่อไม่ได้พระพุทธศาสนา ก็คงจะแข็งแรงอยู่ไม่ได้อย่างนี้..." 

สมเด็จพระบรมราชินีนาถทรงพยายามทุกวิถีทางและทุกโอกาสที่จะทรงแนะนำให้ พสกนิกรเห็นว่า ความเจริญทางด้านจิตใจเป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญที่สุด ไม่น้อยไปกว่าความเจริญทางด้านวัตถุ เพราะจะช่วยให้ชีวิตมนุษย์สมบรูณ์และมีค่า ดังพระราชดำรัสที่พระราชทานแก่นักศึกษาว่าพยาบาล ณ หอประชุมราชแพทยาลัย โรงพยาบาลศิริราช เมื่อวันที่ 31 กรกฏาคม พ.ศ. 2510 ความตอนหนึ่งว่า 

ความเจริญทางด้านวัตถุจำต้องควบคู่ไปกับความเจริญทางด้านจิตใจจะทำให้ชีวิต มนุษย์สมบรูณ์และมีค่า บุคคลแม้จะเป็นผู้ที่ขาดความมั่นคงทางวัตถุ แต่ร่ำรวยในด้านคุณธรรม มีความรักและห่วงใยในเพื่อนมนุษย์ จึงนับว่าเป็นผู้ที่พระพุทธศาสนายกย่องแล้วว่าเจริญแท้..."

นอกจากทรงได้รับความรู้ทางธรรมะจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวแล้ว สมเด็จพระบรมราชินีนาถยังทรงศึกษาธรรม ด้วยการทรงสนทนาธรรมกับพระเถระและภิกษุที่เคร่งครัดในพระธรรมวินัย ใน ยามที่เสด็จแปรพระราชฐานไปทรงเยี่ยมราษฎรในภูมิภาคต่าง ๆ หากทรงมีโอกาสเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมวัดวาอารามใด ก็จะมีพระราชศรัทธาถวายเงินบำรุงวัด รวมทั้งทรงสนทนาธรรมกับพระภิกษุสงฆ์ที่วัดเหล่านั้น นอกจากนี้ ยังโปรดให้ข้าราชบริพารจัดซื้อหนังสือธรรมะ หนังสือเกี่ยวกับพุทธประวัติ ประวัติพระอัครสาวก และพระอริยสงฆ์มาถวาย

สมเด็จพระบรมราชินีนาถทรงยึดในพรหมวิหาร 4 ได้แก่ เมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา ทรงพระเมตตากรุณาแก่ราษฎรทั่วไป โดยเฉพาะคนป่วย คนชรา คนพิการ คนปัญญาอ่อนและเด็ก ทรงปรารถนาให้ผู้อื่นเป็นสุข โปรดการทำบุญหรือการสังเคราะห์มาแต่ทรงพระเยาว์ทรงดำรงตำแหน่งประธาน กิตติมศักดิ์ของสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ทรงตั้ง "กองทุนเมตตา" ขึ้นโดยพระราชทรัพย์ริเริ่ม เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยอย่างรุนแรงและกระทบกับสถานภาพทางครอบครัว มีน้ำพระราชหฤทัยเมตตาห่วงใยบุคคลผู้พิการทั้งทางร่างกายและสมอง มีพระราชดำริว่า ผู้พิการควรได้รับความเอาใจใส่ดูแลได้รับการบำบัดรักษาเมื่อป่วยเจ็บเช่น เดียวกันกับบุคคลทั่วไป และควรได้รับการอบรมให้มีอาชีพตามความถนัด เพื่อจะได้ยังประโยชน์ต่อตนเองและสังคมได้นอกจากนี้ยังทรงไว้ซึ่งมุทิตาธรรม มีพระราชหฤทัยโสมมัสในความสุข ความเจริญและความสำเร็จของอาณาประชาราษฏร์ และทรงส่งเสริมพระราชทานกำลังใจทำความดียิ่งขึ้น ทรงรักษาอุเบกขาธรรมวางพระองค์เป็นกลางไม่ทรงหวาดเกรงภยันตรายต่าง ๆ เมื่อต้องเสด็จพระราชดำเนินไปในถิ่นทุรกันดารเพื่อเยี่ยมเยียนราษฎร ทรงยึดมั่นในเบญจศีล เบญจธรรม อันเป็นธรรมะขั้นพื้นฐานที่สอนเว้นการทำชั่วประพฤติดีปฏิบัติชอบ มีพระราชศรัทธาอุปถัมภ์บำรุงพุทธศาสนา นอกจากการบำรุงด้วยพระราชทรัพย์แล้ว ยังทรงช่วยเผยแผ่ธรรมะด้วยวิธีการหลายหลาก เช่น พระราชทานเทปและหนังสือธรรมะแก่ผู้อยู่ในความทุกข์หรือเจ็บป่วย หรือพระราชทานไปยังโรงเรียนเพื่อเป็นการเผยแผ่พระธรรมคำสั่งสอนของพระ พุทธองค์แก่เยาวชน

นอกจากนี้ ยังทรงอุปถัมภ์บำรุงพระภิกษุสงฆ์หลายด้าน เช่น ทรงถวายปัจจัยแด่พระเถระขั้นผู้ใหญ่ และพระเถระที่ทรงรู้จักเป็นประจำทุกเดือน ทรงอนุเคราะห์พระภิกษุสงฆ์ที่อาพาธ ทรงถวายปัจจัยเป็นค่ารักษาพยาบาล หรือพระราชทานทรัพย์แก่โรงพยาบาลเป็นทุนในการบริการ และอำนวยความสะดวกแกพระสงฆ์ที่มารับการรักษา ตลอดจนมีพระราชเสาวนีย์ให้จัดภัตตาหารไปถวายพระเถระที่อาพาธเป็นพิเศษ เป็นต้น 

สมเด็จพระบรมราชินีนาถ ทรงรับสถาบันแม่ชีไทยไว้ในพระบรมราชินูปถัมภ์ ด้วยทรงเล็งเห็นว่าสถาบันแม่ชีไทยเป็นสถาบันของสตรีกลุ่มใหญ่ที่มุ่งรักษา ศีล บำเพ็ญธรรม และช่วยทำงานให้แก่สังคมในด้านการเผยแพร่พระพุทธศาสนา เพื่อประโยชน์สุขแก่คนหมู่มาก อีกทั้งทรงรับ "มูลนิธิส่งเสริมพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์" ของสภาการศึกษามหามกุฎราชวิทยาลัยไว้ในพระบรมราชินูปถัมภ์ เพื่อเป็นการส่งเสริมการสอนศีลธรรมแก่เยาวชน

นอกจากจะทรงเป็นพุทธศาสนิกชนที่เคร่งครัดแล้ว สมเด็จพระบรมราชินีนาถยังทรงอุปถัมภ์บำรุงศาสนาอื่นในประเทศด้วย เพราะมีพระราชศรัทธาว่า ทุกศาสนาล้วนมีหลักธรรมที่สอนให้คนประพฤติปฎิบัติในสิ่งที่ดีงามเช่นเดียว กัน มักจะเสด็จพระราชดำเนินหรือโดยเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไปในงานพิธี ของศาสนาต่าง ๆ โดยมิทรงเลือกว่าเป็นงานพิธีของศาสนาใด ดังเช่นเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2527 ได้โดยเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวออกรับเสด็จพระสันตปาปา จอนห์น ปอล ที่ 2 ในโอกาสเสด็จเยือนประเทศไทย ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาทด้วยความเคารพยกย่องอย่างสมพระเกียรติ ยังความชื่นชมยินดีมาสู่คริสตศานิกชนในประเทศไทยเป็นอันมาก

เมื่อทรงแปรพระราชฐานไปเยี่ยมราษฎรในภาคใต้ ซึ่งส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม มีขนมธรรมเนียมแตกต่างออกไปตามหลักปฎิบัติของศาสนา ก้ทรงพระกรุณาเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎรเหล่านั้นโดยมิได้เว้น ด้วยทรงถือว่าทุกคนเป็นราษฎรของพระองค์เช่นเดียวกัน ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมมัสยิดที่อิหม่ามประจำมัสยิดกราบบังคมทูล เชิญเสด็จ และพระราชทานเงินบำรุงมัสยิดนั้น ๆ ในเดือนรอมฎอนอันเป็นเดือนที่ชาวมุสลิมถือศีลอด ยังทรงพระกรุณาพระราชทานอินทผลัมแก่อิหท่ามในเขต 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้อีกด้วย

พระราชกรณียกิจในการทะนุบำรุงศาสนาในพระราชอาณาจักรโดยเฉพาะอย่างยิ่งพระ พุทธศาสนา ซึ่งสมเด็จพระบรมราชินีนาถได้ทรง ปฏิบัติเป็นแบบอย่างที่ดีของพุทธศาสนิกชนตลอดมา ทำให้มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัยขอพระราชทานทูลเกล้าทูลกระหม่อม ถวายปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์สาขาวิชาพระพุทธศาสนา เมื่อ พ.ศ. 2546 เพื่อเฉลิมพระเกียรติให้แผ่ไพศาลยิ่งขึ้น

ข้อมูลจาก www.belovedqueen.com

พระราชกรณียกิจด้านการศึกษา

สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถสนพระราชหฤทัยในด้านการศึกษา และทรงยึดมั่นในคำสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า "ปัญญาทำให้มนุษย์เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์" สติปัญญาเกิดขึ้นได้ด้วยการศึกษาหาความรู้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากการอ่านหนังสือ พระราชกรณียกิจด้านการศึกษานานัปการ 

ที่พระราชทานแกพสกนิกรชาวไทยนั้นประกอบด้วย ทรงส่งเสริมการศึกษาในระบบโรงเรียน เช่น พระราชทานทุนการศึกษาแกนักเรียน สร้างโรงเรียน พระราชทานพระราชทรัพย์อุดหนุนโรงเรียน พระราชทานอุปกรณ์การเรียน ทรงรับโรงเรียนไว้ในพระบรมราชินูปถัมภ์ เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมโรงเรียน เป็นต้น ด้านการศึกษานอกโรงเรียน เช่น ทรงสอนหนังสือชาวบ้าน ทรงสร้างศาลาร่วมใจ ทรงส่งเสริมการอาชีวศึกษา ทรงอนุรักษ์ ฟื้นฟู และพัฒนางานศิลปาชีพ นอกจากนี้ ยังทรงส่งเสริมการศึกษาของพระภิกษุสามเณร และทรงรับมูลนิธิแม่ชีไทยไว้ในพระบรมราชินูปถัมภ์ เป็นต้น

          พระอัจฉริยภาพด้านการศึกษาของสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ เป็นที่ประจักษ์ทั่วไปทั้งในประเทศและนานาประเทศ พระราชจริยวัตรและพระราชกรณียกิจที่ทรงบำเพ็ญด้วยพระวิริยอุตสาหะพระราชทาน แก่องค์การศึกษาของภาครัฐ ภาคเอกชน และพสกนิกรทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประชาชนผู้ด้อยโอกาสทางการศึกษามีฐานนะยากจน หรืออยู่ในท้องถิ่นทุรกันดาร ทำให้มหาวิทยาลัยต่าง ๆ ขอพระราชทานทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ทางการ ศึกษาแด่สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ เช่น มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒใน พ.ศ. 2509 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ใน พ.ศ. 2516 และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยใน พ.ศ. 2535

ทรงเป็นครูที่ดี
          สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถพระอุปนิสัยรักการอ่านหนังสือมาก ซึ่งเป็นอุปนิสัยที่ได้ถ่ายทอดมายังพระราชโอรสพระราชธิดาทุกพระองค์ นอกจากจะโปรดการอ่านแล้วยังโปรดการเป็นครูด้วย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีได้ทรงเล่าไว้ในพระราชนิพนธ์ เรื่อง "สมเด็จแม่กับการศึกษา" ว่า สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ โปรดการเป็นครูมาตั้งแต่ทรงพระเยาว์ โดยทรงเล่นเป็นครูและนักเรียนกับเด็กที่บ้าน ทรงมีวิธีการสอนที่สนุก เด็กๆ ในบ้านจึงชอบเป็นลูกศิษย์ของพระองค์ เมื่อพระราชโอรสและพระราชธิดายังทรงพระเยาว์ ทรงสอนให้พับกระดาษ เขียนรูป และทำการฝีมือต่าง ๆ ก่อนเข้าบรรทมทรงอ่านหนังสือหรือทรงเล่านิทานพระราชทาน และทรงซื้อหนังสือพระราชทานด้วย ซึ่งมีทั้งวรรณคดี ภาษาอังกฤษ ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม พุทธศาสนา ฯลฯ

เมื่อหลายสิบปีมาแล้ว ขณะที่เสด็จแปรพระราชฐานไปประทับแรมที่วังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ หลังจากเสด็จเยี่ยมราษฎรแล้ว ทรงใช้ศาลาริมหาดปราณบุรี ประทับสอนหนังสือราษฎรด้วยพระองค์เอง ทรงทำหน้าที่เป็นครูใหญ่และข้าราชบริพารที่ตามเสด็จเป็นครูน้อยช่วยสอน หนังสือด้วย ทรงวางแผนการศึกษาอย่างมีระบบ โดยจัดครูสอนเป็นกลุ่ม ๆ ตามความรู้พื้นฐานของผู้เรียน และพระราชทานหนังสือเรียนให้ ซึ่งมีทั้งหนังสือเรียนตามระดับชั้น หนังสืออ่านประกอบ และหนังสือความรู้ทั่วไปสำหรับเด็กโต เช่น นิทานพื้นบ้าน นิทานชาดก ประวัติศาสตร์

สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถจะใช้วิธีสอนแบบตัวต่อตัวบ้าง เป็นกลุ่มเล็ก ๆ 2-3 คนบ้าง ทรงทดลองความรู้พื้นฐานของผู้เรียนโดยการซักถาม ให้อ่านหนังสือถวาย แล้วจึงเริ่มเรียนแล้วหัดอ่านจากผู้ช่วยต่อไป ทรงมีบันทึกรายชื่อนักเรียน ผลการเรียนและทรงติดตามความก้าวหน้าในการเรียนอย่างใกล้ชิด ถ้าใครเรียนดีก็จะพระราชทานรางวัลให้วิธีการสอนของพระองค์นอกจากจะมุ่งให้ เด็กอ่านออกเขียนได้แล้ว ยังทรงแทรกความรู้ทางพุทธศาสนา จริยธรรม สุขภาพอนามัย และความรักชาติรักแผ่นดินเกิดด้วย นับเป็นแบบอย่างที่ดีของครู เพราะนอกจากจะทรงสอนวิชาการแล้ว ยังทรงอบรมให้เป็นคนดีด้วย

ทรงเป็นนักการศึกษา 
สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถมิได้ศึกษาด้านการศึกษาโดยตรง แต่พระราชดำริที่พระราชทานในเรื่องการศึกษา ไม่ว่าจะเกี่ยวกับนักเรียนในพระบรมราชานุเคราะห์ โครงการศิลปาชีพ หรือศาลารวมใจล้วนแสดงถึงพระปรีชาญาณด้านการจัดการศึกษาของชาติทั้งสิ้น ศาลารวมใจ ที่พระราชทานไว้เมื่อ พ.ศ. 2519 นั้น คือโครงการที่สอดคล้องกับปรัชญาการศึกษาสากลว่า การศึกษาคือชีวิต ประชาชนควรมีโอกาสที่จะศึกษาหาความรู้ได้ตลอดชีวิต ไม่เฉพาะแต่ในโรงเรียนเท่านั้น

ศาลารวมใจ คือแหล่งเรียนรู้ที่ชาวบ้านสามารถศึกษาหาความรู้ได้ด้วยตนเอง เป็นที่พบปะสังสรรค์แลกเปลี่ยนความรู้ ความคิด สร้างความสามัคคีให้เกิดในชุมชน หนังสือประเภทต่าง ๆ ที่สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถพระราชทานไว้ที่ศาลารวมใจทุก ๆ แห่ง คือ หนังสือความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับประเทศไทย ประวัติศาสตร์ วรรณคดี ศาสนาขนบธรรมเนียมประเพณี นวนิยายที่มีคติสอนใจ คู่มือทำการเกษตร ฯลฯ ชาวบ้านสามารถติดตามข่าวสารต่าง ๆ เกี่ยวกับบ้านเมืองได้ นอกจากนี้ยังมีรูปภาพติดตามผนัง มีสมุดภาพซึ่งรวบรวมภาพต่าง ๆ จากนิตยสาร ปฎิทินหรือภาพสิ่งที่น่าสนใจของประเทศไทย บางคราวที่เสด็จแปรพระราชฐานไปทรงเยี่ยมราษฎร ก็โปรดให้ราษฎรเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทที่ศาลารวมใจ ทรงฉายสไลด์ และทรงบรรยายเรื่องราวด้วยพระองค์เอง ศาลารวมใจนี้นากจากเป็นห้องสมุดที่ชาวบ้านสามารถหาความรู้ด้วยตนเองแล้วยัง มีห้องปฐมพยาบาลที่ให้การรักษาพยาบาลเบื้องต้น เพราะนอกจากจะมียาพระราชทานแล้ว ยังเจ้าหน้าที่ที่ผ่านการอบรมหลักสูตร หมอหมู่บ้าน เป็นผู้ดูแลอย่างน้อย 1 คน เจ้าหน้าที่เหล่านี้มีความรู้พื้นฐานด้านการปฐมพยาบาล การสาธารณสุข และการใช้ยาสามัญประจำบ้าน สามารถให้คำแนะนำและช่วยเหลือชาวบ้านได้ ศาลารวมใจจึงเปรียบเสมือนศูนย์รวมชาวบ้านในท้องถิ่นทุรกันดาร เป็นทั้งห้องสมุด ห้องพยาบาล และห้องประชุมในคราวเดียวกัน ศาลารวมใจหลายแห่งสร้างอยู่ใกล้วัด ซึ่งเป็นศูนย์รวมจิตใจของชุมชน เพื่อดึงดูดให้ชาวบ้านที่มาวัดสนใจที่จะหาความรู้จากศาลารวมใจด้วย ศาลารวมใจมีทั้งหมด 7 แห่ง ดังนี้

ศาลารวมใจที่ภาคเหนือ ได้แก่ 
 ศาลารวมใจบ้านกาด บ้านคอนเปา หมู่ 4 ตำบลบ้านกาด อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ พระราชทานเมื่อวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2519
 ศาลารวมใจบ้านขุนคง บ้านขุนคง หมู่ที่ 5 ตำบลขุนคง อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ พระราชทาน เมื่อวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2519
 ศาลารวมใจ พร้าว บ้านสหกรณ์นิคม 2 หมู่ที่ 6 ตำบลเขื่อนผาก อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ พระราชทานเมื่อวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2519
 ศาลารวมใจบ้านวัดจันทร์บ้านวัดจันทร์ หมู่ที่ 3 ตำบลบ้านจันทร์ อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ พระราชทานเมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2533

ศาลารวมใจภาคอีสาน ได้แก่ 
 ศาลารวมใจเทิดพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ณ ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพบ้านกุดนาขาม ตำบลเจริญศิลป์ อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร พระราชทานเมื่อวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2535

ศาลารวมใจภาคใต้ ได้แก่ 
 ศาลารวมใจวัดพระพุทธ บ้านวัดพระพุทธ หมู่ที่ 3 ตำบลพร่อน อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส พระราชทานเมื่อวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2521
 ศาลา รวมใจวัดสารวัน บ้านลุดง (สารวัน) หมู่ที่ 2 ตำบลไทรทอง กิ่งอำเภอไม้แก่น จังหวัดปัตตานี พระราชทานเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2527

การจัดสร้างศาลารวมใจได้รับความร่วมมืออย่างดีจากหลายฝ่ายทั้งหน่วยงานของ รัฐและประชาชน ราษฎรในถิ่นร่วมมือร่วมใจกันดูแลและพัฒนาบริเวณโดยรอบของศาลารวมใจ เช่น การทำความสะอาดและการปลูกต้นไม้ให้สวยงามน่าดู ศาลารวมใจที่พระราชทานนี้เป็นประโยชน์อย่างยิ่งแก่เยาวชนและประชาชนทั่วไป

ทรงส่งเสริมการอาชีวศึกษา

ตลอดระยะเวลาที่สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถโดยเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไปทรงเยี่ยมราษฎรทั่วทุก ภาคของประเทศทรงพบว่าราษฎรส่วนหนึ่งที่มาเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทนั้นยากจน ไม่มีที่ทำกิน ไม่มีอาชีพ ด้อยโอกาสทางการศึกษา มีความรู้เรื่องสุขอนามัยสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ จึงทรงมุ่งมั่นที่จะส่งเสริมอาชีพของราษฎรเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น และมีรายได้พอเลี้ยงครอบครัวให้มีความสุข ทุกครั้งที่เสด็จพระราชทานดำเนินไปเยี่ยมราษฎรจะทรงสังเกตุชีวิตความเป็น อยู่ สุขภาพอนามัย การแต่งกาย และสิ่งของที่ราษฎรนำมาทูลเกล้ากระหม่อมถวาย ว่าจะมีสิ่งใดหรือวิธีใดที่จะทรงหยิบยกขึ้นมาส่งเสริมให้เป็นอาชีพเสริมแก่ ราษฎรได้ เช่น ราษฎรแต่งกายด้วยผ้าไหมมัดหมี่ที่ทอใช้กันเองในครัวเรือน ก็ทรงตระหนักด้วยพระปรีชาญาณว่า หัตถกรรมเหล่านี้มีคุณค่าทางศิลปะซึ่งสืบทอดภูมิปัญญามาจากบรรพบุรุษ สมควรที่จะอนุรักษ์ไว้ให้เป็นสมบัติของชาติ พระราชดำริที่จะพัฒนางานหัตถกรรมพื้นบ้านต่าง ๆ เช่น หัตถกรรมทอผ้า เครื่องปั้นดินเผา เครื่องจักสาน เครื่องเงิน เครื่องทอง เครื่องถม ไม้แกะสลัก เป็นต้น ได้กลายเป็นโครงการศิลปาชีพของสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถสัมฤทธิผลของโครงการศิลปาชีพ ถือเป็นการศึกษาด้านอาชีพ หรือการอาชีวศึกษาที่สำคัญของชาติ เป็นที่ประจักษ์แก่ชาวโลก เป็นแบบอย่างที่ดีและเป็นที่ชื่นชมของนานาประเทศ

การศึกษาด้านศิลปาชีพนั้นพัฒนาอย่างรวดเร็ว ด้วยทรงวางแผนการศึกษาอย่างครบวงจร โปรดให้ชาวบ้านในชุมชนเดียวกันนั้น หรือชุมชนใกล้เคียงเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ด้านหัตถกรรมทั้งหลายให้แก่ลูกหลาน หรือเพื่อนบ้านของตน เช่น การทอผ้าไหมมัดหมี่ ผ้าไหมแพรวา ผ้าไหมและผ้าฝ้ายลวดลายดั้งเดิมชนิดต่าง ๆ การจักสาน เช่น จักสานย่านลิเภา ไม้ไผ่และหวาย เป็นต้น ส่วนงานหัตถกรรมที่ชาวบ้านไม่เคยเรียนรู้มาก่อน เช่นการปั้นตุ๊กตาไทย หรืองานหัตถกรรมที่ต้องใช้ความสามารถและความอดทนสูง เช่น งานเครื่องเงินเครื่องทอง งานคร่ำ งานถมเงินถมทอง ก็โปรดให้แสวงหาครูผู้มีความสามารถ เช่น นานไพฑูรย์ เมืองสมบรูณ์ และนายจุลทัศน์ พยาฆรานนท์ มาถ่ายทอดวิชาให้ เมื่อนักเรียนในโครงการมีฝีมือดีและชำนาญแล้ว ก็จะคัดเลือกให้เป็นครูต่อไป ทรงติดตามผลงานจากผลิตภัณฑ์ทุกชิ้น และพระราชทานคำแนะนำในการพัฒนางานให้สวยงามสมบรูณ์ขึ้น ทรงหาตลาดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ ทรงรับซื้อด้วยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ ทรงเป็นแบบอย่างให้ประชาชนใช้ผลิตภัณฑ์ศิลปาชีพ ทำให้ผลิตภัณฑ์เป็นที่นิยมของคนไทยและชาวต่างประเทศพระอัจฉริยภาพของสมเด็จ พระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถในการพัฒนางานอาชีพตามโครงการศิลปาชีพ นอกจากจะส่งผลให้สมาชิกในโครงการมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นแล้ว ยังเป็นการสร้างช่างฝีมือที่ชำนาญในศิลปะไทยหลายแขนง เช่น ช่างทอง ช่างเขียน ช่างปั้น ช่างไม้แกะสลัก ฯลฯ ซึ่งล้วนแต่เป็นศิลปะที่ประณีตงดงามเป็นเครื่องเชิดชูเกียรติภูมิของ ไทยอย่างยิ่ง

พระบรมราชินูปภัมภ์ด้านการศึกษา

โรงเรียนเจ้าแม่หลวงอุปถัมภ์ 1 สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ พระราชทานพระราชทรัพย์เป็นทุนเริ่มแรกเป็นเงิน 13,500 บาท ในการสร้างโรงเรียนเจ้าแม่หลวงอุปถัมภ์ 1 สำหรับชาวไทยภูเขาเผ่าเย้าที่บ้านห้วยขาน ตำบลแม่งอน อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 25 เมษายา พ.ศ. 2505 ทรงมอบโรงเรียนให้อยู่ในความดูแลของกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดน ปัจจุบันเป็นโรงเรียนที่สอนถึงระดับมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ

โรงเรียนเจ้าแม่หลวงอุปถัมภ์ 2 สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จำนวน 20,000 บาท เพื่อสร้างอาคารหลังใหม่ให้แก่โรงเรียนชายแดนสงเคราะห์ 14 ของชาวไทยภูเขาเผ่าม้ง ตำบลแม่ริม อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ต่อมาเสด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดอาคารเมื่อ วันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2510 และพระราชทานนามว่า "โรงเรียนเจ้าแม่หลวงอุปถัมภ์ 2" พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมโรงเรียนนี้หลายครั้ง โรงเรียนได้โอนไปสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อ พ.ศ. 2523

นักเรียนในพระบรมราชานุเคราะห์

สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถทรงรับนักเรียนยากจนขาดโอกาสทางการศึกษาที่ทรงพบด้วยพระองค์ เองระหว่างการเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎร ไว้ในพระบรมราชานุเคราะห์เกือบสองพันคน มีพระราชเสาวนีย์ให้กองราชเลขานุการในพระองค์สมเด็จพระบรมราชินีนาถติดตาม ดูแลความประพฤติ และความเป็นอยู่ของนักเรียนนิสิต นักศึกษาที่ได้รับทุนเหล่านี้อย่างใกล้ชิด กองราชเลขานุการฯ มีหน้าที่จะต้องกราบยังคมทูลรายงานให้ทราบฝ่าละอองธุลีพระบาททุกเดือนนัก เรียนทุนจะมีแฟ้มประวัติประจำตัว มีข้อมูลบันทึกไว้ครบถ้วน เช่น ประวัติส่วนตัว ประวัติครอบครัว สถานศึกษา รูปถ่าย ที่อยู่ที่ติดต่อได้ ผลการเรียน บัญชีค่าใช้จ่ายที่พระราชทาน จดหมายรายงานความเป็นอยู่ของรักเรียน ฯลฯ ทุนการศึกษานี้พระราชทานแก่นักเรียน นิสิต นักศึกษาในกรุงเทพมหานคร และต่างจังหวัด

นอกจากนี้ยังพระราชทานทุนการศึกษาแก่เด็กพิการให้เข้ารับราชการศึกษาใน โรงเรียนการศึกษาพิเศษ คือ

 โรงเรียนสอนคนตาบอด ได้แก่ โรงเรียนสอนคนตาบอดกรุงเทพมหานคร โรงเรียนสอนคนตาบอดภาคเหนือ จังหวัดเชียงใหม่
 โรงเรียน สอนคนหูหนวก-หูตึง ได้แก่ โรงเรียนเศรษฐเสถียร ถนนพระราม 5 โรงเรียนโสตศึกษา ทุ่งมหาเมฆ กรุงเทพมหานาคร
 โรงเรียนอนุสารสุนทร จังหวัดเชียงใหม่ โรงเรียนโสตศึกษาขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น โรงเรียนโสตศึกษา จังหวัดสงขลา 
 โรงเรียนสอนคนปัญญาอ่อน ได้แก่ โรงเรียนกาวิละอนุกูล จังวหัดเชียงใหม่ โรงเรียนอุบลปัญญานุกูล จังหวัดอุบลราชธานี
 โรงเรียนสอนคนพิการแขนขา และลำตัว ได้แก่ศรีสังวาลย์ จังหวัดนนทบุรี

สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถมีพระราชเสาวนีย์ให้กองราชเลขานุการ ฯ ปฏิบัติเช่นเดียวกับนักเรียนสามัญ มีประวัติและติดตามผลการศึกษา จนจบการศึกษาตามความสามารถ เพื่อไปประกอบอาชีพเลี้ยงตนเองได้ นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณสูงสุด แก่นักเรียนและการศึกษาของชาติ 

โครงการศิลปาชีพ ในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ


พระราชดำรัสในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติติ์
พระบรมราชินีนาถ

ข้าพเจ้าได้ตามเสด็จ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงนำของพระราชทาน ไปช่วยเหลือราษฎร มักจะเป็นเครื่องอุปโภค บริโภค แล้วก็รับสั่งกับข้าพเจ้าว่า การช่วยเหลือแบบนี้ เป็นการช่วยเหลือเฉพาะหน้า ซึ่งช่วยเขาไม่ได้จริงๆ ไม่เพียงพอ ทรงคิดว่าทำอย่างไร จึงจะช่วยเหลือชาวบ้าน เป็นระยะยาว คือ ทำให้เขามีหวัง ที่จะอยู่ดีกินดีขึ้น ลูกหลานได้เข้าโรงเรียน ได้เรียนหนังสือ ซึ่งในเรื่องนี้ รัฐบาลได้พยายามส่งเสริมอยู่แล้ว เขาเพิ่มจำนวนโรงเรียนขึ้น อย่างสม่ำเสมอ 

แต่ชาวนาชาวไร่บอกว่า เขาส่งให้ลูกไปเรียนหนังสือ ไปเข้าโรงเรียนไม่ได้ เพราะต้องอาศัยอยู่เป็น กำลังช่วยกันทำมาหากิน ดังนั้น จะพบเด็กที่อยู่ในวัยเรียน ไม่ได้มาเรียนหนังสืออีกมาก ส่วนมากก็ได้จบ ป.4 ซึ่งก็น่าเป็นห่วง 

ด้วยเหตุผลดังกล่าว ข้าพเจ้าจึงเริ่มคิดหาอาชีพเสริม ให้แก่ครอบครัวชาวนา ชาวไร่ และ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ก็ทรงหาแหล่งน้ำ ให้การทำไร่ทำนาของเขา เป็นผลต่อประเทศชาติ ต่อบ้านเมือง ทรงพระราชดำเนิน ไปดูตามไร่ของเขาในที่ต่างๆ ทรงคิดว่านี้เป็นการให้กำลังใจ และที่ทรงให้ข้าพเจ้าดูแล พวกครอบครัว ก็เลยเป็นที่เกิด ของมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพ

โครงการศิลปาชีพ
สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงมีความห่วงใยประชาชน ในชนบท พระองค์ทรงมีพระราชดำริ ที่จะช่วยให้พสกนิกรของพระองค์ท่าน มีความเป็นอยู่ และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น มีรายได้เพียงพอ ต่อการเลี้ยงครอบครัว จึงได้พระราชทานพระราชดำริ ให้ประชาชน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทำงานศิลปาชีพ เพื่อเพิ่มพูนรายได้

การดำเนินงานใน ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพ แต่ละแห่งจะ จัดเป็นกลุ่มต่าง ๆ ตามความเหมาะสม ของแต่ละท้องถิ่น และบุคคล เพื่อให้การฝึกอบรมแก่สมาชิก รวมทั้งจัดหางาน ให้สมาชิกดำเนินการ เพื่อนำไปจำหน่าย เป็นรายได้เสริมของสมาชิก แต่ละกลุ่ม

ซึ่งในปัจจุบัน มีจำนวน 34 โครงการ ดังนี้.-

1) ศูนย์ศิลปาชีพบ้านกุดนาขาม ต.เจริญศิลป์ อ.เจริญศิลป์ จ.สกลนคร (UE 525445)
2) ศูนย์ศิลปาชีพบ้านจาร ต.ม่วง อ.บ้านม่วง จ.สกลนคร (UE 477770)
3) ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพอีสานใต้ บ้านตะตึงไถง ต.นอกเมือง อ.เมือง จ.สุรินทร์ (UB 400410)
4) โครงการส่งเสริมศิลปาชีพบ้านสานแว้ ต.กกตูม อ.ดงหลวง จ.มุกดาหาร(VD097556)
5) โครงการส่งเสริมศิลปาชีพบ้านทรายทอง ต.ปทุมวาปี อ.ส่องดาว จ.สกลนคร (UE 372128)
6) โครงการส่งเสริมศิลปาชีพบ้านดอนคำ-วัดเสนานฤมิตร บ้านดอนคำ ต.นาแต้ อ.คำตากล้า จ.สกลนคร (UE 643822)
7) โครงการส่งเสริมศิลปาชีพบ้านบ่อเดือนห้า ต.โคกภู อ.ภูพาน จ.สกลนคร (UD 913795)
8) โครงการส่งเสริมศิลปาชีพบ้านกำแมด ต.วังทอง อ.บ้านดุง จ.อุดรธานี (UE 180630)
9) โครงการส่งเสริมศิลปาชีพบ้านหาดแพง ต.หาดแพง อ.ศรีสงคราม จ.นครพนม (VE 253544)
10) โครงการส่งเสริมศิลปาชีพบ้านโชคอำนวย ต.ท่าดอกคำ อ.บึงโขงหลง จ.หนองคาย(VE 067986)
11) โครงการส่งเสริมศิลปาชีพบ้านกุดสะกอย ต.โพธิไพศาล อ.กุสุมาลย์ จ.สกลนคร (VE 361191)
12) โครงการส่งเสริมศิลปาชีพอ.กระสัง บ้านบุ ต.ลำดวน อ.กระสัง จ.บุรีรัมย์ (UB 273663)
13) โครงการส่งเสริมศิลปาชีพอ.ห้วยทับทัน บ้านหนองเมย ต.เมืองหลวง อ.ห้วยทับทัน จ.ศรีสะเกษ (UB 957647)
14) โครงการส่งเสริมศิลปาชีพอ.ภูสิงห์ บ้านตะแบง ต.ห้วยติ๊กชู อ.ภูสิงห์ จ.ศรีสะเกษ(VB 078077)
15) โครงการส่งเสริมศิลปาชีพอ.บัวเชด บ้านตาปิม ต.บัวเชด อ.บัวเชด จ.สุรินทร์ (UB 876035)
16) โครงการส่งเสริมศิลปาชีพอ.บุณฑริก บ้านสมพรรัตน์ ต.หนองสะโน อ.บุณฑริก จ.อุบลราชธานี (VB 289280)
17) โครงการส่งเสริมศิลปาชีพบ้านสร้างถ่อนอก ต.สร้างถ่อน้อย อ.หัวตะพาน งหวัดอำนาจเจริญ(VC 435300)
18) โครงการส่งเสริมศิลปาชีพบ้านเวินบึก ต.โขงเจียม อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี (WB 604934)
19) โครงการส่งเสริมศิลปาชีพบ้านยางน้อย ต.ก่อเอ้ อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี(VB 596976)
20) โครงการส่งเสริมศิลปาชีพอ.ละหานทราย ต.หนองแวง อ.ละหานทราย จ.บุรีรัมย์ (TA 812783)
21) โครงการส่งเสริมศิลปาชีพบ้านกุดสิม-คุ้มเก่า ต.คุ้มเก่า อ.เขาวง จ.กาฬสินธุ์ (VD 033453)
22) โครงการส่งเสริมศิลปาชีพบ้านนาตาด-นาโปร่ง ต.บะยาว อ.วังสามหมอ จ.อุดรธานี (UD 331877)
23) โครงการส่งเสริมศิลปาชีพบ้านโสกส้มกบ ต.บ้านใหม่ อ.สีชมพู จ.ขอนแก่น(SD 918513)
24) โครงการส่งเสริมศิลปาชีพบ้านโคกก่อง ต.หนองแดง อ.นาเชือก จ.มหาสารคาม (TC 894475)
25) โครงการส่งเสริมศิลปาชีพบ้านดอนหลี่ ต.หนองบัวแก้ว อ.พยัคฆภูมิพิสัย จ.มหาสารคาม (UE 166234)
26) โครงการส่งเสริมศิลปาชีพทุ่งกะมัง บ้านหนองหอย ต.กุดชุมแสง อ.หนองบัวแดง จ.ชัยภูมิ (QV 737127)
27) โครงการส่งเสริมศิลปาชีพอ.โพธิ์ชัย บ้านพลไทย ต.โพธิ์ศรี อ.โพธิ์ชัย จ.ร้อยเอ็ด (UD 692066)
28) โครงการส่งเสริมศิลปาชีพอ.ปทุมรัตต์ บ้านดอกล้ำ ต.ดอกล้ำ อ.ปทุมรัตต์ จ.ร้อยเอ็ด (UC 205323)
29) โครงการป่ารักน้ำบ้านป่ารักน้ำ ต.โคกสี อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร (UE 395522)
30) โครงการบ้านเล็กในป่าใหญ่บ้านน้อมเกล้า ต.บุ่งคล้า อ.เลิงนกทา จ.ยโสธร (VC 799834)
31) โครงการบ้านเล็กในป่าใหญ่บ้านทันสมัย ต.มหาชัย อ.ปลาปาก จ.นครพนม (VE 427069)
32) โครงการบ้านเล็กในป่าใหญ่ ผานาง-ผาเกิ้ง บ้านผานาง ต.ผาอินทร์แปลง กิ่ง อ.เอราวัณ จ.เลย (RV 176190)
33) โครงการพัฒนาพื้นที่เพื่อเทิดพระเกียรติฯ บ้านคกงิ้ว ต.ปากตม อ.เชียงคาน จ.เลย(QV 830806)
34) โครงการพัฒนาพื้นที่เพื่อเทิดพระเกียรติฯ ผาบ่าว-ผาสาว บ้านนาซำแซง ต.เขาหลวง อ.วังสะพุง จ.เล(QV 808171)

ข้อมูลจาก : www.prd2.in.th

โครงการป่ารักน้ำ พระราชดำริในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ

พระราชปณิธานอันแน่วแน่ของ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ บรรเทาวิกฤติการณ์ ขาดแคลนน้ำอย่างร้ายแรง "ขาดน้ำ ทุกชีวิตสิ้นสุดทันที" การรักษาแหล่งน้ำ ไว้ให้เป็นที่พึ่งพาอาศัย ของมวลสัตว์โลกทั้งหลายนั้น น่าจะเป็นเรื่องสำคัญที่สุด ใครช่วยกันได ้ก็น่าจะช่วยคนละไม้คนละมือ อย่างน้อยช่วยกันป้องกันมิให้ บ่อ คลอง แม่น้ำ ทะเล มหาสมุทรสกปรก ด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ต้องรู้ว่ายิ่งคนมากขึ้น ของสกปรกต่างๆ ที่เราระบายสู่แม่น้ำ ทะเลนั้นมีมากพอที่จะทำลายพันธุ์สัตว์น้ำ ที่คนอาศัยเลี้ยงชีวิต คนยังใช้ยาฆ่าพืช ฆ่าแมลง ที่แรง และสลายตัวได้ยากกันอย่างมาก

ด้วยความคิดเพียงแต่ จะสะดวก เร็ว และ ง่าย เท่านั้น ไม่คิดว่าสารเคมีเหล่านั้น รวมทั้งของที่คนไม่ต้องการแล้ว จะไปสะสมร่วมกัน ทำลายชีวิตสัตว์ที่เป็นประโยชน์ ต่อชีวิตคน คนมัวแต่คิดว่าทำอย่างไร เราถึงจะรวยเร็วๆ จะได้โน้น จะได้นี่ดังใจปอง เห็นป่าสงวนเข้า ก็ยอมเสียเงินจำนวนหนึ่ง ว่าจ้างให้คนจนตัดไม ้ขายออกต่างประเทศ คนจนเหล่านั้นก็เสียรู้ นึกว่าตัดป่าขายดี สะดวกดี รวยเร็วดี ป่าไม่เห็นเป็นประโยชน์อะไร กับพวกเรา ขัดขวางไม่ให้เรามีไร่นา

จึงมาคิดว่าที่มี พระราชดำรินานมาแล้วว่า จะทำให้ป่าไม้เป็นประโยชน์ กับพวกเราเองทั้งสิ้น การปฏิบัติให้เขาได้ เห็นเองว่าป่าไม้เป็นของ ประชาชนคนไทยเป็นส่วนใหญ่ เป็นส่วนรวมจริงๆ อาจจะพอที่จะลดการ ลักลอบตัดไม้ไปได้บ้าง พวกเราที่ได้มีโอกาส อ่านเรียนมาก ควรร่วมมือกันสละเวลา ส่วนตัวไปดูแลให้ชาวนา ชาวไร่ ได้มีความสุขขึ้น ด้วยความรู้จักรักษา ผลประโยชน์ ของพวกเขาเองไว้ ในทางที่ถูกต้อง ไม่ใช่ให้คนยากจน ช่วยให้เรารวยได้เร็วๆ ประเทศไทยจะเป็นประเทศ ประชาธิปไตยได้ อย่างสมบูรณ์ที่สุด

ถ้าพวกเราต่อสู้กับ ความยากจน ความหิว ขาดความรู้ อย่างที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงรับสั่งกับนักข่าว BBC เวลาเขาถามพระองค์ท่านว่า "เสด็จมาทำอะไรกันที่ชายแดน มีทหารล้อมหน้าล้อมหลัง จะมาสู้กับคอมมิวนิสต์หรือ?" พระองค์ทรงรับสั่งว่า "พวกเรามาอยู่ที่นี่ ก็เพราะที่นี่ขาดน้ำทำกิน เรามาสู้กับความยากจน นานาประการ เพื่อให้คนไทย เป็นไทแก่ตนอย่าง แท้จริงให้เหมาะสมกับ ระบอบประชาธิปไตย ที่ท่านทั้งหลาย ก็สนับสนุน อยู่มิใช่หรือ"

คนไทยส่วนใหญ่ มีความฉลาดลึกซึ้ง ในการต่อสู้เพื่อชีวิต เขารักการทำนา คุณสมบัตินี้ น่ายกย่องสนับสนุน ชาวนาต้องต่อสู้ เพื่อยังชีวิตอย่างหนัก น้ำเป็นปัจจัยสำคัญยิ่ง ที่ควรช่วยสนับสนุนเขาทุกทาง และชาวนาไทยฉลาดล้ำ ในความยึดมั่นเพียงปัจจัยสี่ ตามที่พระพุทธองค์ ของเราทรงสอนไว้ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่ ยารักษาโรค นักวิชาการของโลกรู้ดี ถึงสภาพจิตใจที่รู้ดีแล้ว ของชาวนาไทย ถึงกับลงพิมพ์ยกย่องทำนายว่า เมืองไทยจะเจริญต่อไป เพราะสภาพจิตหยั่งรู้ ในการต่อสู้ เพื่อดำรงชีวิต ของชาวนาไทย

ผิดกับชาวนาหลายประเทศ ที่หลงงมงายกับความเจริญ ทางวัตถุที่ฟุ่มเฟือยนา ๆ ประการ รถยนต์ ไฟฟ้า เครื่องโทรทัศน์ บ้านจะโย้เย้อย่างไร ต้องมีโทรทัศน์ ต้องใช้รถแทรกเตอร์ จึงจะทำนาทำไร่ได้ผล ทำให้ประเทศชาติ ต้องเป็นหนี้สินรุงรัง ชนิดที่แบงค์โลก วิตกว่าจะให้กู้ต่อไป อย่างไรไหว มิใช่แต่ ธกส. เท่านั้น ที่วิตกว่าจ่ายเงิน ออกไปท่าเดียว ไม่ได้เงินไหลกลับเข้ามาเลย น่ายกย่องน่าภูมิใจ ในชาวนาไทยหมู่มาก ของเรายิ่งนัก ที่ยังช่วยจรรโลงการเงิน ของประเทศชาติอย่างเต็มที่ แม้ว่าจะโดนล่อหลอก ให้หลงระเริงออกไป สู่ความหายนะอย่างไร ส่วนใหญ่ของเขา ยังยึดมั่นในข้าว ถึงจะมี เพชร ทอง ตึกรามมโหฬาร ธนบัตร เป็นหีบๆ ก็ตายอยู่ดี ถ้าในห้างหรูหราเกิดวิกฤติ ขาดอาหารขึ้นมา อย่างฉับพลัน เช่นในประเทศเพื่อนบ้าน ใกล้เคียงบางประเทศของเรา

สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงเห็นว่าป่าไม้ ในพื้นที่ต่าง ๆ กำลังถูกแผ้วถางทำลาย อย่างรวดเร็ว จึงทรงมีพระราชดำริ ให้มีการชักชวนประชาชนทั่วไป และข้าราชการส่วนต่าง ๆ ร่วมกันปลูกป่าตัวอย่าง เพื่อเป็นการชักชวนให้ ประชาชนเกิดความรู้สึกรัก และหวงแหนป่าไม้

ดังนั้น จึงทรงพระกรุณา โปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้ทำพิธีขึ้นครั้งแรก ที่บริเวณเชิงภูผาเหล็ก ติดกับอ่างเก็บน้ำคำจวง บ.ถ้ำติ้ว อ.ส่องดาว จ.สกลนคร เมื่อวันที่ 20 ธ.ค.2525 เวลา 1400 โดยในพิธีทรงให้มีการ บวงสรวงเทพารักษ์ เจ้าป่ามาสถิตย์อยู่ ณ ป่าแห่งนั้นด้วย และพระองค์ทรงปลูกป่า เป็นตัวอย่างด้วยพระองค์เอง จำนวน 1 ไร่ พร้อมทั้ง พระราชทานชื่อโครงการนี้ว่า โครงการป่ารักน้ำ

ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีจำนวน 5 โครงการ ได้แก่

1. โครงการป่ารักน้ำ บ้านถ้ำติ้ว ตำบลส่องดาว อำเภอส่องดาว จังหวัดสกลนคร
2. โครงการป่ารักน้ำ บ้านป่ารักน้ำ ตำบลโคกสี อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร
3. โครงการป่ารักน้ำ บ้านกุดนาขาม ตำบลเจริญศิลป์ อำเภอเจริญศิลป์ จังหวัดสกลนคร
4. โครงการป่ารักน้ำ บ้านจาร ตำบลม่วง อำเภอบ้านม่วง จังหวัดสกลนคร
5. โครงการป่ารักน้ำ บ้านทรายทอง ตำบลปทุมวาปี อำเภอส่องดาว จังหวัดสกลนคร 


ข้อมูลจาก : www.prd2.in.th

โครงการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว

เมื่อปีพุทธศักราช 2525 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จโดยเฮลิคอปเตอร์พระที่นั่ง ผ่านเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ ซึ่งเป็นป่าผืนใหญ่ ซึ่งยังเหลืออยู่ไม่กี่แห่ง ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทรงมี พระราชดำรัสว่า

"พื้นที่บนภูเขาเป็นที่ราบสูง กว้างขวาง มีสภาพป่าที่สมบูรณ์ และยังมีสัตว์อยู่ มากมายหลายชนิด เหมาะสมที่จะอนุรักษ์ ให้เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า และพัฒนาให้เป็น สวนสัตว์ป่าเปิด ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง ต่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ และส่งเสริมการท่องเที่ยว ต่อไปในอนาคต และการที่จะดำเนินการ ให้เป็นผลสำเร็จนั้น จะต้องยับยั้ง ไม่ให้ประชาชนบุกรุกป่า และล่าสัตว์ โดยพัฒนาหมู่บ้าน บริเวณใกล้เคียงภูเขียวทั้งหมด ให้มีความเจริญ พร้อมทั้งส่งเสริมอาชีพ ให้สามารถดำรงชีพอยู่ได้ อย่างมีความอยู่ดีกินดี ส่งเสริมให้ประชาชน มีความรับผิดชอบ รักป่าและสัตว์ป่า จะได้ช่วยกันดูแล ป้องกันมิให้ราษฎร จากหมู่บ้านอื่นๆ ขึ้นไปล่าสัตว์ป่าด้วย "

จากพระราชดำรัสของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ดังกล่าว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงสนองพระราชดำริ โดยในวันที่ 28 กรกฎาคม พุทธศักราช 2530 ราชเลขานุการในพระองค ์สมเด็จพระบรมราชินีนาถ ได้เชิญผู้ที่เกี่ยวข้องเข้าประชุม เพื่อจัดทำแผนงาน โครงการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าภูเขียวขึ้น โดยการวางแผน เกี่ยวกับการพัฒนาหมู่บ้าน โดยรอบภูเขียว ให้มีความอยู่ดีกินดี ปลูกฝังให้รักป่า และสัตว์ป่า รวมทั้งวางแผน ในการปล่อยสัตว์ป่า โดยการจัดงาน วันอิสรภาพของสัตว์ป่าไทย ขึ้น

โดยกำหนดที่ตั้งโครงการ บริเวณรอยต่อ อำเภอหนองบังแดง อำเภอคอนสาร อำเภอเกษตรสมบูรณ์ จังหวัดชัยภูมิ ต่อมาได้มีการจัดงาน "วันอิสรภาพของสัตว์ป่าไทย" ขึ้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2530 โดยสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ เสด็จเป็นองค์ประธาน ในการปล่อยสัตว์ป่า ที่นำมาจากที่ต่างๆ ให้คืนสู่ป่าในภูเขียว กระทำพิธี ณ บริเวณทุ่งกะมัง มีประชาชนนำอาวุธล่าสัตว์ป่า มามอบจำนวนมาก

สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนิน ไปกระทำพิธีปล่อยสัตว์ป่า ที่บริเวณทุ่งกะมัง เมื่อ 21 ธันวาคม 2535 ในพิธีดังกล่าว มีประชาชนในหมู่บ้านรอบภูเขียว จำนวนมากมอบอาวุธล่าสัตว์ป่า และกล่าวปฏิญาณตนว่า จะไม่เข้าไปล่าสัตว์ป่า และบุกรุกทำลายป่าอีกต่อไป

โครงการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่า มีที่ตั้งอยู่ บริเวณรอยต่อ อำเภอหนองบัวแดง อำเภอคอนสาร, อำเภอเกษตรสมบูรณ์ จังหวัดชัยภูมิ ซึ่งเป็นพื้นที่บนภูเขา เป็นที่ราบสูงกว้างขวาง มีสภาพป่าที่สมบูรณ์ และยังมีสัตว์ป่าอยู่ มากมายหลายชนิด เหมาะสมที่จะอนุรักษ์ ให้เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า และพัฒนาให้เป็น สวนสัตว์ป่าเปิด ซึ่งจะเป็นประโยชน์ ต่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ และการส่งเสริมการ ท่องเที่ยวในอนาคต

โครงการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว ทุ่งกะมัง จังหวัดชัยภูมิ

ประวัติความเป็นมา

เขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว ได้จัดตั้งขึ้นเป็นทางการเมื่อปี พ.ศ.2508 โดยที่รัฐบาลเล็งเห็นว่า พื้นที่ต้นน้ำของลำน้ำพรม มีสภาพป่าที่สมบูรณ์ มีสัตว์ป่าที่มีคุณค่า หลายชนิดอาศัยอยู่ในท้องถิ่นนี้ โดยเฉพาะ กระซู่ ซึ่งเป็นสัตว์ป่าสงวน ที่กำลังจะสูญพันธุ์ไป ก็มีอาศัยอยู่ในพื้นที่นี้ด้วย นอกจากนั้นยังเป็น แหล่งอาศัยของ กระทิง วัวแดง ช้างป่า เลียงผา เสือโคร่ง เสือดาว และนกที่สำคัญหลายชนิด เช่น นกยูง นกเป็ดก่า นกเงือกสีน้ำตาล นกแก๊ก นกกก เป็นต้น

พื้นที่แห่งนี้ยังเป็นแหล่งรวม ของพันธุ์ไม้ที่สำคัญนานาชนิด หลายชนิด เป็นไม้ที่มีค่าทางด้านป่าไม้ และการเกษตร ควรที่จะสงวนไว้ เป็นแหล่งพันธุกรรม และแหล่งเมล็ดพันธุ์ต่อไปในอนาคต เนื่องจากพื้นที่อยู่ในระดับสูง จึงเป็นแหล่งต้นน้ำที่สำคัญ ของพื้นที่เกษตรในที่ราบ ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

โดยเฉพาะเป็นแหล่งต้นน้ำ ของลำน้ำพรมอันเป็นสาขาหนึ่งของ ลำน้ำชี นอกจากนี้ยังมีสภาพภูมิประเทศ อันสวยงามเหมาะ กับการพักผ่อนหย่อนใจ ทางธรรมชาติ ดังนั้นทางรัฐบาล จึงได้ประกาศให้พื้นที่ป่าภูเขียว เป็นเขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าชื่อว่า "เขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่า ภูเขียว" ตามประกาศของคณะปฎิวัติ ฉบับที่ 154 ลงวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ.2515

และต่อมาได้มีพระราชกฤษฎีกา ลงวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2522 ซึ่งออกตามความใน พระราชบัญญัติสงวน และ คุ้มครองสัตว์ พ.ศ.2503 ได้มีการผนวกพื้นที่ บางส่วนเพิ่มเติม จนปัจจุบันเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว มีพื้นที่ทั้งหมด 1,560 ตารางกิโลเมตร หรือ 975,000 ไร่ รวมเอาพื้นที่ใน ตำบลห้วยยาง อำเภอคอนสาร ตำบลบ้างยาง ตำบลบ้านค่า ตำบลกุดเลาะ อำเภอเกษตรสมบูรณ์ ตำบลนางแดด ตำบลหนองแวง ตำบลหนองบัวแดง อำเภอหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ

ประวัติความเป็นมา ในพื้นที่นี้นับจากปี พ.ศ.2498 เป็นต้นมา พื้นที่ส่วนนี้ เป็นพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ขึ้นกับป่าไม้เขตจังหวัดนครราชสีมา ภายใต้ป่าโครงการ ไม้กระยาเลยภูเขียวหมวดที่ 4 มีการทำไม้บางส่วนออกมา ตั้งแต่ช่วงปี พ.ศ.2508 จนถึงปี พ.ศ.2512 ก่อนที่จะประกาศเป็นเขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าภูเขียว เพื่อเป็นการนำไม้ออกจากพื้นที่ จึงมีการตัดเส้นทางชักลากไม้ ออกจากอำเภอคอนสาร ผ่านทุ่งลุยลาย ไปสู่บางม่วงและทุ่งกระมัง ต่อไป

จนถึงแปน และห้วยแหลหนองป่าเตย เนื่องจากเส้นทางสายนี้ ทำให้ราษฎรเดินทางเข้าไปบุกรุก ทำลายป่าอันสมบูรณ์ ส่วนนี้อย่างรวดเร็ว โดยพัฒนาจากหมอนไม้ หรือที่พักคนงาน กลายเป็นหมู่บ้านใหญ่น้อย โดยเฉพาะบริเวณทุ่งกะมัง บึงมน บึงแปน ห้วยแหลป่าเตย ศาลาพรม นอกจากการทำไม้แล้ว ราษฎรเหล่านี้ยังหักร้างถางพง เพื่อทำนาและปลูกพืชไร่ พร้อมทั้งทำการล่าสัตว์ป่า เพื่อเป็นอาหาร และส่งออกขายในตัวเมือง โดยเฉพาะกระซู่ ที่เป็นสัตว์ป่าสงวน ที่หายากมาก ได้ถูกล่าไปแล้วถึง 3 ตัว ในบริเวณทุ่งกะมัง

อันเนื่องมาจากการที่ สัตว์ป่าสงวนที่สำคัญ ได้ถูกลักลอบล่า และป่าไม้ถูกทำลายนี้เอง ทำให้ นายศักดิ์ วัฒนากุล ป่าไม้จังหวัดชัยภูมิในสมัยนั้น (พ.ศ.2513) ได้เสนอกรมป่าไม้ ให้ประกาศพื้นที่นี้เป็น เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า โดยด่วน กรมป่าไม้จึงได้ส่งเจ้าหน้าที่ออกทำการสำรวจ และประกาศเป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ตามประกาศคณะปฎิวัติดังกล่าว

ในชั้นแรกครอบคลุม พื้นที่เพียง 1,314 ตารางกิโลเมตร พร้อมทั้งอพยพราษฎร ออกจากทุ่งกะมังเป็นจำนวน 40 ครอบครัว และจากศาลาพรมอีกจำนวน 100 ครอบครัว กลับไปอยู่ภูมิลำเนาเดิม รวมทั้งราษฎรอีกจำนวนหนึ่ง ที่อาศัยอยู่บริเวณบึงแปนด้วย ราษฎรเหล่านี้บางส่วน ได้จัดที่ทำกินให ้โดยจัดตั้งเป็นโครงการพัฒนาที่ดิน บ้านทุ่งลุยลาย งานอพยพราษฎรในพื้นที่ กลายเป็นพื้นที่มีปัญหา อันเนื่องมาจาก ผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ เข้าไปอยู่อาศัย และขัดขวางการทำงาน ของเจ้าหน้าที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า

ในปี พ.ศ.2520 ทางกรมป่าไม จึงได้จัดตั้ง สำนักงานส่วนกลาง ของเขตการรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ชั่วคราวขึ้นที่ศาลาพรม และจัดตั้งหน่วยพิทักษ์ป่า และฐานปฏิบัติการเฉพาะกิจ ป้องกันปราบปราม การบุกรุกทำลายป่า (ศปป.) กระจายอยู่ตามจุดที่ล่อแหลม ต่อการบุกรุกทำลายป่า รอบแนวเขตเพื่อควบคุมรักษาป่า บริเวณเชิงเขาอันเป็นแนวกันชน และสกัดกั้นการขึ้นลงภูเขียวภารกิจนี้ต่อมาได้รับความร่วมือจาก ตำรวจตระเวณชายแดน และ กองทัพภาคที่ 2 โดยมีเป้าหมาย ที่จะจัดตั้งหน่วยบริหารกลาง ของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแห่งนี้ ที่บริเวณ ทุ่งกะมังต่อไป

ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2522 เมื่อรัฐบาลได้ประกาศ พระราชกฤษฎีกา กำหนดเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียวใหม่ โดยผนวกพื้นที่ เพิ่มขึ้นเป็น 1,500 ตารางกิโลเมตร ทำให้ครอบคลุมหมู่บ้านราษฎร ที่บุกรุกเข้าไปอยู่ในป่าสงวนแห่งชาติ อีกหลายหมู่บ้าน ทางเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแห่งนี้ จึงจำเป็นต้องวางแผน อพยพราษฎรเหล่านั้น ออกไปจากพื้นที่อีก แต่เนื่องจากการขัดขวาง ของผู้ก่อการร้าย ทำให้งานโยกย้ายราษฎร ออกจากพื้นที่กระทำได้ไม่เต็มที่ จนถึง พ.ศ.2524 เมื่อสภาพทางการเมือง คลี่คลาย ผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ อ่อนกำลังลง

การโยกย้ายราษฎร จึงได้กระทำต่อใน เดือนเมษายน พ.ศ.2525 หน่วยราชการหลายฝ่าย ได้ร่วมมือกันอพยพราษฎร จำนวน 96 ครอบครัว ออกจากบริเวณหนองไร่ไก่ และใน เดือนพฤษภาคม - เดือนมิถุนายน พ.ศ.2526 ได้ร่วมกันอพยพราษฎรจำนวน 208 ครอบครัว ออกจากบริเวณพรมโซ้ง ผาผึ้ง และซับเตยเข้าไปอยู่ใน โครงการพัฒนาป่าดงลานที่ 2 บ้านอ่างทอง อำเภอสีชมพู จังหวัดขอนแก่น พื้นที่นาร้าง และไร่ร้างหลายแห่ง ได้ กลายเป็นทุ่งหญ้าถาวร อันเนื่องจากไฟป่า จึงทำให้กลายเป็น แหล่งอาหารสัตว์ อันอุดมสมบูรณ์ มาจนปัจจุบัน

เนื่องจากสภาพใจกลาง ของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว มีลักษณะเป็นพื้นที่ราบบนเขาสูง จึงทำให้การจัด สร้างทางรถยนต์เข้าออก ได้เพียงเส้นทางเดียว คือเส้นทางเข้าเขื่อนจุฬาภรณ์ ซึ่งมีเส้นทางแยก เข้าพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า แห่งนี้ที่ปางม่วง ตามเส้นทางชักลากไม้เก่า

ที่ตั้งอาณาเขต

สำนักงานเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว ปัจจุบันตั้งอยู่ที่ ทุ่งกะมัง (ใจกลางป่าภูเขียว) ห่างจากอำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น ตามเส้นทางรถยนต์ 82 กิโลเมตร มีอาณาเขตครอบคลุมท้องที่ ตำบลห้วยยาง อำเภอคอนสาร ตำบลนางแดด ตำบลหนองแวง ตำบลหนองบัวแดง อำเภอหนองบัวแดง ตำบลกุดเลาะ ตบลบ้านยาง ตำบลหนองข่า อำเภอเกษตรสมบูรณ์ โดยมีพื้นที่ 1,560 ตารางกิโลเมตร หรือ 975,00 ไร่ ซึ่งขณะนี้ได้สำรวจหมายแนวเขต ขยายเพิ่มขึ้นอีก รวมทั้งสิ้น 1,125,000 ไร่

o ทิศเหนือ จด อุทยานแห่งชาติน้ำหนาว จังหวัดเพชรบูรณ์ และเขื่อนจุฬาภรณ์ จังหวัดชัยภูมิ

o ทิศตะวันออก จด ป่าสงวนแห่งชาติภูซำผักหนาม เขื่อนห้วยกุ่ม และ อำเภอเกษตร- สมบูรณ์ จังหวัดชัยภูมิ

o ทิศใต้ จด อำเภอหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ

o ทิศตะวันตก จด แนวเขตอำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ 

ลักษณะภูมิประเทศ

ภูมิประเทศส่วนใหญ่ มีลักษณะเป็นเทือกเขาหินทราย ซึ่งปรากฏมีหน้าผาสูงชัน เหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง ประมาณ 1,200 เมตร พื้นที่บางแห่งมีดินตื้นจะมีลานหิน และสวนหินเป็นบริเวณกว้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ก่อให้เกิดทัศนียภาพที่แปลกตา และสวยงาม ทางด้านทิศตะวันตกและทิศเหนือ

มีลักษณะเป็นภูเขาหินปูน สลับซับซ้อนและสูงชัน ประกอบด้วยถ้ำขนาดใหญ่สวยงามหลายแห่ง มีความสูง 1,242 เมตร เช่น เขาอุ้มนาง ซึ่งอยู่ในทิศตะวันตกเฉียงเหนือใกล้จังหวัดเพชรบูรณ์ ภูเขียวมีสภาพป่าที่สมบูรณ์และภูเขาสูง 

เป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร ที่สำคัญยิ่งของลำน้ำพรม และแม่น้ำชี ทางด้านทิศเหนือ และทิศตะวันออก เป็นต้นกำเนิดห้วยดาด ห้วยไม้ซอด ห้วยซาง ฯลฯ ซึ่งไหลลงลำน้ำพรม ส่วนด้านทิศตะวันตกและทิศใต้ เป็นต้นกำเนิดของลำสะพุง และแม่น้ำชี ซึ่งมีต้นน้ำมาจากห้วยเล็กๆ หลายห้วย เช่น ห้วยไขว้ ห้วยเพียว ห้วยป่าเตย ลำสะพุงน้อย ลำสะพุงลาย

ซึ่งมีความสำคัญยิ่งต่อชีวิต ความเป็นอยู่ของราษฎรในท้องที่ อำเภอเกษตรสมบูรณ์ อำเภอภูเขียว อำเภอหนองบัวแดง และแหล่งชุมชนหลายจังหวัด จนไปรวมกับลำนำโขง ที่จังหวัดอุบลราชธาน

ลักษณะภูมิอากาศ

ภูมิอากาศโดยทั่วไปเย็น และชื้นเนื่องจากทำเลที่ตั้งอยู่ในที่สูงเหนือระดับน้ำทะเลประมาณ 1,200 เมตร มีป่าทึบปกคลุมเป็นส่วนมาก และอยู่ในเขตมรสุมตะวันออกเฉียงใต้ มีฤดูกาลทั้ง 3 ฤดู

ฤดูฝน จะมีฝนตกชุกตั้งแต่ เดือนเมษายน ไปจนถึง เดือนพฤศจิกายนของทุกปี แต่อาจจะมีทิ้งช่วงบ้างใน เดือนมิถุนายน - เดือนกรกฎาคม โดยตกหนักมากใน เดือนกันยายน - เดือนตุลาคม ปริมาณน้ำฝนประมาณ 2,000 ลูกบาศก์มิลลิเมตร ต่อปี

ฤดูหนาว อุณหภูมิเริ่มหนาวเย็นตั้งแต่ เดือนพฤศจิกายน และหนาวจัดใน เดือนธันวาคม - เดือนมกราคม อุณหภูมิเฉลี่ยช่วงนี้ประมาณ 10 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิต่ำสุดประมาณ 2 องศาเซลเซียส

ฤดูร้อน จะเริ่มตั้งแต่ปลาย เดือนกุมภาพันธ์ ถึงปลาย เดือนเมษายน แต่ในช่วงนี้อาจมีฝนตกบ้าง อากาศตอนกลางคืนยังคงเย็น อุณหภูมิกลางวันเฉลี่ยประมาณ 25 องศาเซลเซียส

ชนิดป่าพันธุ์พืช และสัตว์ป่า

ชนิดป่าไม้ส่วนใหญ่เป็นป่าดงดิบ ซึ่งประกอบด้วยป่าดิบแล้ง ป่าดิบชื้น และป่าดิบเขา นอกนั้นมีป่าสนเขา ป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง และ ทุ่งหญ้า พันธุ์พืชประกอบด้วย ไม้ยาง ตะเคียนหนู ตะแบก มะค่าโมง มะค่าแต้ กระเบาหลัก แต่ตามหุบเขาหรือบริเวณลำห้วย ลำธารจะรกทึบยิ่งขึ้นกลายเป็นป่าดงดิบชื้น และอุดมไปด้วยพันธุ์ไม้ป่าดงดิบชื้น ได้แก่ ยาง ตะเคียนทอง กะบก มะม่วงป่า มะพลับ มะแฟง มะไฟ ชมพู่ป่า และมีเถาวัลย์พันธุ์ไม้พื้นล่าง เช่น บอนป่า หวาย ระกำ ไม้ไผ่ต่างๆ ขึ้นปกคลุมหนาแน่น ตามยอดเขาซึ่งมีระดับสูง ตั้งแต่ 300 เมตร ขึ้นไปก็มักจะมีสนเขาขึ้นเป็นชนิด สนสองใบ และ สนสามใบ ขึ้นอยู่ประปรายทั่วไป สลับกับพันธุ์ไม้ป่าดิบเขา จำพวกก่อ ซึ่งปรากฏขึ้นอยู่หนาแน่น เมื่อระดับความสูงเพิ่มขึ้น ป่าเบญจพรรณ ปรากฎเป็นหย่อมเล็กๆ ตามเนินเขาที่ไม่สูงมากนัก มีพันธุ์ไม้ที่สำคัญอยู่ ได้แก่ มะค่าโมง ตะแบก แดง ประดู อ้อยช้าง มะกอก ไม้ไผ่ ฯลฯ ในบริเวณที่ดินตื้น หรือลูกรังตามเนินเขา จะเป็นป่าเต็งรัง พะยอม เหียง มะกอก ตะแบก มะขามป้อม ยอป่า ลมแล้ง และ กระโดน เป็นส่วนใหญ่ นอกจากนี้ยังมีทุ่งหญ้า ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ สลับกับป่าโปร่งตามบริเวณยอดเขา ที่มีดินตื้นยังมีความอุดมสมบูรณ์เป็นอย่างยิ่ง และแหล่งในลักษณะเป็นบึง ตามธรรมชาติอีกหลายแห่ง เช่น ทุ่งกะมัง บึงแปน บึงแวง บึงมน บึงคร้อ และ บึงยาว สลับกับป่าดงดิบที่แน่นทึบ ซึ่งทำให้สัตว์ป่าอาศัยอยู่ อย่างชุกชุมมากมายหลายชนิด แม้กระทั่งกระซู่ ซึ่งเป็นสัตว์ป่า และใกล้จะสูญพันธุ์ของประเทศไทย ก็ยังพบร่องรอยอยู่เสมอ นอกจากนี้ยังมี เลียงผา ช้างป่า กระทิง เสือโคร่ง เสือดาว กวาง เก้ง กระจง หมี ชะนี ลิง ค่าง หมูป่า ฯลฯ ซึ่งจัดเป็นสัตว์เลี้ยงลูก ด้วยนมขนาดใหญ่ และนกต่างๆ ที่หายาก เช่นไก่ฟ้าพญาลอ ไก่ฟ้าหลังขาว นกยูง นกเงือกชนิดต่างๆ นกกางเขนดง นกหัวขวานหลายชนิด ฯลฯ คาดว่า เมื่อได้ทำการสำรวจโดยละเอียด จะได้พบสัตว์ป่าใหม่ๆ แปลกๆ อีกหลายชนิด 

แหล่งความงามตามธรรมชาติ 
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว นับว่าเป็นแหล่งป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ ที่เหลืออยู่ไม่มากใน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ป่าทั้งหมดในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแห่งนี้ จึงถือได้ว่าเป็นแหล่งความงาม ตามธรรมชาติที่สำคัญของภาค ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว นอกจากจะประกอบด้วยป่าที่สวยงามหลายชนิด เช่น ป่าดงดิบเขา ป่าดงดิบแล้ง ป่าเต็งรังผสมสน ป่าผสมผลัดใบ และป่าเต็งรังแล้ว ยังมีทุ่งหญ้า และลานหินอยู่หลายแห่ง แต่สังคมพืชเหล่านี้ นอกจากมีโครงสร้างที่แปลกตาแล้ว ยังมีพันธุ์ไม้ที่น่าสนใจ และสวยงาม ทั้งรูปทรงและมีสีสรรของดอก อีกจำนวนไม่น้อย โดยเฉพาะกล้วยไม้ และไม้ล้มลุกอีกหลายชนิด รวมถึงกุหลาบภูชนิดดอกแดง และดอกขาว นอกจากไม้ป่าที่น่าสนใจดังกล่าวแล้ว ยังเป็นแหล่งสัตว์ป่า ที่ช่วยให้ธรรมชาติป่าเขา มีชีวิตชีวา และมีความสวยงามยิ่งขึ้น สัตว์ป่าที่เด่นนี้เช่น ช้างป่า วัวแดง กระทิง เสือโคร่ง เสือดาว หมี กวาง หมูป่า และ เก้ง ซึ่งสามารถพบเห็นได้บ่อยครั้ง นกอีกเป็นจำนวนมากมาย หลายชนิดก็เป็นจุดเด่น ที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวสู่พื้นที่แห่งนี้ เช่น นกเป็ดก่า นกเงือกสีน้ำตาล นกแก๊ก ไก่ฟ้าหลังขาว ไก่ฟ้าพญาลอ และ นกยูง เป็นต้น ความสวยงามที่น่าสนใจ ของป่าไม้และสัตว์ป่า ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว จึงเป็นที่เลื่องลือไปทั่วทั้ง ภายในประเทศ และต่างประเทศ นอกจากความงามทั่วไป ที่กล่าวมาแล้ว ยังมีจุดเด่นเฉพาะหลายแห่งด้วยกันคือ 
o บึงแปน
o ภูคิ้ง
o ผาเทวดา
o ลานจันทร์ และ ตาดหินแดง
o น้ำตกห้วยทราย น้ำตกไทรย้อย น้ำตกตาดคร้อ และ น้ำตกนาคราช 

ทุ่งกะมัง

เป็นทุ่งที่เกิดจากการทำลายป่า ของราษฎรที่ขึ้นไปบุกรุกป่าธรรมชาติ เพื่อปลูกพืชและตั้งหลักแหล่ง แต่เดิมคงมีที่ว่าง ที่เป็นแอ่งน้ำขนาดเล็ก ในป่าเต็งรังผสมผสานมาก่อน ราษฎรที่บุกรุกจึงได้ขยายทุ่งหญ้า ให้กว้างขึ้นเพื่อทำนา และปลูกพืช เมื่อจัดตั้งเป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแล้ว ก็ได้ย้ายราษฎรเหล่านั้นออกไป พื้นที่ส่วนนี้จึงกลายเป็น ทุ่งหญ้าอันกว้างขวาง ส่วนใหญ่เป็นหญ้าเพ็ก และ หญ้าหวาย มีพันธุ์ไม้ขนาดเล็ก ขึ้นอยู่ประปราย เช่น หม้อข้าวหม้อแกงลิง เอนอ้า แววมยุรา และหญ้าพง

บริเวณโดยล้อมรอบด้วย ป่าเต็งรังผสมสน และป่าดงดิบเขาระดับต่ำ กลางทุ่งมีลำห้วยไหลผ่าน สามสายด้วยกัน ปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้ทรงให้สร้างอ่างเก็บน้ำ เพื่อสัตว์ป่าขึ้นสามอ่าง และทรงได้สร้างพระตำหนักพักผ่อนขึ้น บริเวณชายทุ่งทางด้านทิศตะวันตกด้วย จึงทำให้บรรยากาศบริเวณทุ่ง มีความแปลกใหม่ยิ่งขึ้น

บริเวณอ่างเก็บน้ำเหล่านั้น กลายเป็นแหล่งอาศัยของนกนานาชนิด ที่ผู้เข้าเยี่ยมชมสถานที่ สามารถพบเห็นได้โดยตลอด นกสำคัญเช่น นกเป็ดแดง นกเป็ดก่า นกอีล้ำ นกกระยาง นกกระเต็นชนิดต่างๆ เป็นต้น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเช่น กวาง กระทิง หมีควาย ช้างป่า อีเก้ง เป็นต้น กองอนุรักษ์สัตว์ป่า ได้สร้างหอดูสัตว์ขึ้นเ พื่อให้ผู้เข้าเยี่ยมชม ได้ใช้เป็นที่ชมสัตว์ป่า และธรรมชาติของตัวทุ่ง นกจากนี้ยังมีเส้นทางโดยรอบ เพื่อการสัมผัสธรรมชาติ อย่างแท้จริงอีกด้วย 

ข้อมูลจาก : www.prd2.in.th

โครงการพิทักษ์ป่าเพื่อรักษาชีวิต

พระราชเสาวนีย์ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินานาถ พระราชทานแก่ราษฎรอาสาสมัครพิทักษ์ป่า บ้านสร้างถ่อน้อย ตำบลสร้างถ่อนอก อำเภอตัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ เมื่อ 29 พฤศจิกายน 2538 

"ข้าพเจ้าถือว่าวันนี้ เป็นวันที่เป็นมิ่งมหามงคล ที่ประเทศไทยได้มีประชาชน เป็นจำนวนมากที่อาสา ที่จะปกป้องรักษาป่า ในผืนแผ่นดินเรา อันที่จริงการปฎิญาณรักษาป่านี้ เป็นประโยชน์แก่พวกเราทุกๆ คน และลูกหลานของเราในอนาคต เพราะเมืองไทย ไม่มีแหล่งน้ำจืดที่ไหนเลย นอกจากป่า ป่าเป็นแหล่งน้ำจืด ป่าเป็นที่เก็บขังน้ำบริสุทธิ์ สำหรับพวกเราได้ทำมาหากิน ได้บริโภค เผื่อว่าผืนดินของเรานี้ จะได้เป็นผืนดินที่เป็นประโยชน์ ให้ชีวิตของพวกเราอย่างแท้จริง ที่เราเป็นนักเกษตรกรรม, กสิกรรม ถ้าขาดต้นไม้ ขาดป่า เราก็ขาดความชุ่มชื้น

ความชุ่มชื้นนี้หมายถึง ฝนตกต้องตามฤดูกาล ต้นไม้นี้เป็นของมีประโยชน์มาก เขาจะระเหยความชุ่มชื้น ขึ้นไปบนท้องฟ้าไปผสมกับ ส่วนประกอบในท้องฟ้า ทำให้มีฝนตกต้องตามฤดูกาล และเมื่อฝนฟ้าตกลงมาเขา ก็จะเก็บน้ำไว้ที่ตัวต้นไม้ และก็ในรากทำให้เกิดน้ำใต้ดิน ที่สมบูรณ์ อย่างที่เวลาเราขุดน้ำ ที่ผืนดินเราก็จะได้น้ำ อย่างสมบูรณ์ แม้ว่าฝนจะแล้ง ไปชั่วระยะหนึ่ง

เพราะฉนั้นข้าพเจ้าถือว่า เป็นนิมิตรหมายที่ คนไทยตื่นตัวรู้จักว่าน้ำ เป็นส่วนสำคัญในโลก อันที่จริงแล้ว นักวิชาการทั่วโลกพูดว่า น้ำนี้เป็นของจำกัดในโลกนี้ ไม่ว่าประเทศใดทั้งนั้น และต้นไม้นี้เอง เป็นปัจจัยสำคัญ ที่ทำให้แผ่นดินชุ่มชื้น และก็เป็นปัจจัยที่ทำให้ฝนฟ้าตก เดี๋ยวนี้ท่านทั้งหลาย คงจะได้ยินผู้เฒ่าผู้แก่จะพูดว่า สมัยนี้ฝนฟ้าไม่ตกต้องตามฤดูกาล ทำให้การเพาะปลูกลำบาก

ประเทศไทยเรามีชื่อเสียงมานาน ในฐานะที่ว่า เป็นประเทศที่สามารถ ผลิตพืชพันธุ์ธัญญาหาร เลี้ยงตนเอง เรามีข้าวบริโภค เรามีอาหารต่างๆ เลี้ยงตัวเอง ซึ่งข้าพเจ้าอยากให้ท่าน ทั้งหลายทราบว่า ความสำเร็จอันนี้ ไม่ใช่ของง่าย เดี๋ยวนี้ทั่วโลกหลายประเทศ หยุดการเป็นประเทศ ที่ผลิตอาหารเลี้ยงตัวเอง ต้องสั่งซื้อ ต้องนำมาจากประเทศต่างๆ ซึ่ง ทำให้การตัดสินใน ของประเทศนั้นๆ ไม่เป็นอิสระเสรีภาพเท่าที่ควร

เพราะฉนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ถือว่าวันนี้เป็นวันที่นิมิตรดี ท่านทั้งหลาย ราษฎรของประเทศไทย ลุกขึ้นมาร่วมกัน รักษาทรัพยากรที่หายาก ที่สุดในโลก และ ไม่มีวันที่จะเพิ่มขึ้นในโลกนี้คือ น้ำ น้ำที่เป็นสายธารแห่งชีวิต น้ำที่เป็นผู้ชุบชีวิตเราตั้งแต่ก่อนเราเกิด เวลาที่เราอยู่ในท้องแม่ เราต้องลอยอยู่ในน้ำ เพื่อป้องกันการกระทบกระเทือน ที่จะเกิดมีแก่ชีวิตของพวกเรา ที่ยังเป็นเด็กเล็กๆ อยู่ เพราะฉนั้น ในการที่ท่านมีความปราถนาดี ที่จะพิทักษ์ทรัพยากรที่สำคัญ ที่สุดของชีวิตมนุษย์

ข้าพเจ้าขออวยพร ให้ท่านทั้งหลาย ประสบความสำเร็จ สมดั่งประสงค์ทุกประการ ซึ่งความสำเร็จของท่าน หมายถึง ความสำเร็จของประเทศไทย และคนไทยในอนาคตนั่นเอง ซึ่งบัดนี้คนทั้งหลาย ไม่ทราบว่าที่เราตัดป่า เราทำลายแหล่งชีวิตของเรา ข้าพเจ้าจึงเลือกคำว่า "พิทักษ์ป่า เพื่อรักษาชีวิต"

จากพระราชปณิธานของ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ที่ทรงมีพระราชประสงค์ให้ "คน" กับ "ป่า" อยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข โดยพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน ทำให้ราษฎรทุกหมู่เหล่า ต่างสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ได้ร่วมแรงร่วมใจกัน อนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ ใกล้ชุมชน เป็นผลให้ป่าไม้ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เริ่มรักษาไว้ได้มากขึ้น จึงได้พระราชทาน แนวพระราชดำริให้ราษฎร อยู่ร่วมกับป่าไม้อย่างสันติสุข พึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน โดยชุมชน/หมู่บ้าน ได้มีการจัดตั้งองค์การ ในการร่วมกันดูแลรักษาป่า และสภาพแวดล้อม แหล่งต้นน้ำลำธาร

โครงการนี้ มีกิจกรรมหลัก 2 ประเภท คือ 

1. โครงการฝึกอบรมราษฎรอาสาสมัครพิทักษ์ป่า

สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงมีพระราชดำริให้ "คน" กับ "ป่า" อยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข โดยพึ่งพาอาศัย ซึ่งกันและกัน เพื่อเป็นแนวทาง ที่จะทำให้เกิดการพิทักษ์ อนุรักษ์ และฟื้นฟู สภาพป่าให้คงประโยชน์ อย่างยั่งยืนได้ พระราชดำรินี้ ทำให้ราษฎรทุกคน ต่างสำนึกใน พระมหากรุณาธิคุณ ได้ร่วมแรงร่วมใจกัน อนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ ใกล้ชุมชน ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ดำเนินการฝึกอบรมตาม โครงการราษฎรอาสาสมัครพิทักษ์ป่า ( รสทป. ) 

เป็นการฝึกอบรมราษฎร ในชุมชนให้มีความรู้ความเข้าใจ ต่อการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ ปลูกฝังความรัก และหวงแหนทรัพยากรป่าไม ้ในท้องถิ่นของตน รวมทั้งคอยดูแล สอดส่อง มิให้มีการบุกรุก และลักลอบตัดไม ้ทำลายป่าแทน เจ้าหน้าที่ของรัฐ 


โครงการฝึกอบรมราษฎรอาสาสมัครพิทักษ์ป่า (รสทป.)


ความเป็นมาโครงการ
กองทัพภาคที่ 2 และ กองอำนวยการ รักษาความมั่นคงภายในภาค 2 ได้เล็งเห็นถึงปัญหา การสูญเสียทรัพยากรป่าไม้ ที่ซึ่งกำลังเกิดขึ้นอยู่ในขณะนี้ โดยเฉพาะพื้นที่ป่าไม้ ตามแนวชายแดน ลำพังเจ้าหน้าที่ของรัฐ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ป่าไม้ คงเกินขีดความสามารถ ที่จะรักษาไว้ได้ หากไม่ได้รับการสนับสนุน จากหน่วยงานอื่น และประชาชนในพื้นที่ จากปัญหาดังกล่าว กองทัพภาคที่ 2 และ กองอำนวยการ รักษาความมั่นคงภายในภาค 2 จึงได้ริเริ่ม "โครงการ ราษฎรอาสาสมัครพิทักษ์ป่า (รสทป.)" ขึ้น เพื่อกระตุ้น และสร้างจิตสำนึก ให้กับประชาชน ที่อยู่ใกล้กับแนวเขตป่า ให้เห็นถึงคุณค่า และความสำคัญของป่าไม้ เลิกการตัดไม้ทำลายป่า แล้วหันมาช่วยกันดูแลรักษาป่า

ซึ่งโครงการดังกล่าว ได้เริ่มดำเนินการในพื้นที่ จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 8 อำเภอ 80 หมู่บ้าน เมื่อต้นปี พ.ศ.2537 โดยกรมทหารราบเฉพาะกิจที่ 6 ร่วมกับ จังหวัดอุบลราชธานี ป่าไม้เขตอุบลราชธานี และป่าไม้จังหวัดอุบลราชธานี โดยกรมป่าไม้ ได้สนับสนุนงบประมาณ ในการฝึกอบรม จำนวน 912,000 บาท มีราษฎรเข้ารับการฝึกอบรม ทั้งสิ้น 16,000 คน

กองทัพภาคที่ 2 และ กองอำนวยการ รักษาความมั่นคงภายในภาค 2 ได้ทำการประเมินผล โครงการฝึกอบรมราษฎรอาสาสมัครพิทักษ์ป่า ดังกล่าวแล้วเห็นว่า เป็นโครงการที่มีผลต่อ การดูแลรักษาป่า และยังปลูกฝังจิตสำนึก ในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ สร้างทัศนคติที่ดี ต่อการให้ความร่วมมือ กับเจ้าหน้าที่ของรัฐ ในการดำเนินงานป้องกัน รักษาป่า ให้กับประชาชนได้ดี กองทัพภาคที่ 2 และ กองอำนวยการ รักษาความมั่นคงภายในภาค 2 จึงได้ทำการขยายผลโครงการนี้ ไปยังพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ซึ่ง กองอำนวยการ รักษาความมั่นคงภายในภาค 2 ส่วนแยก 1 เป็นหน่วยรับผิดชอบ ดำเนินการ

โดยกำหนดให้ โครงการฝึกอบรมราษฎร อาสาสมัครพิทักษ์ป่า (รสทป.) เป็นโครงการของ ศูนย์ป้องกัน และปราบปรามการลักลอบ ทำลายทรัพยากรป่าไม้ภาคที่ 2 และได้เสนอโครงการ ฝึกอบรมราษฎรอาสาสมัครพิทักษ์ป่า (รสทป.) ให้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะคณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามการลักลอบ ทำลายทรัพยากรป่าไม้ พิจารณาสนับสนุนโครงการฯ และ งบประมาณ ในชั้นต้น มีกำหนด 3 ปี ตั้งแต่ปี 2539 - 2541 งบประมาณการฝึกอบรม ปีละ 3,000,000 บาท จำนวน 100 รุ่น/ปี

การดำเนินงานตามโครงการ ราษฎรอาสาสมัครพิทักษ์ป่า (รสทป.) สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้ทรงทราบ และให้ความสนพระทัย เป็นอย่างยิ่ง โดยได้มีพระมหากรุณาธิคุณ ทรงพระราชทานธง "พิทักษ์ป่า เพื่อรักษาชีวิต" ให้กับกลุ่มราษฎร, หมู่บ้าน และ ชุมชน ที่สามารถดูแลรักษาป่าไว้ได้ ในโอกาสที่ พระองค์ทรงเสด็จพระราชดำเนิน แปรพระราชฐาน ณ ตำหนักภูพานราชนิเวศน์ เป็นประจำทุกปี ซึ่งมีตัวแทนของราษฎร เข้ารับพระราชทานธงด้วย และในปัจจุบันโครงการ ราษฎรอาสาสมัครพิทักษ์ป่า (รสทป.) ได้ทำการขยายผล ไปสู่พื้นที่ต่างๆ ของประเทศแล้ว

วัตถุประสงค์
1. สร้างจิตสำนึกร่วมกัน ของราษฎรในพื้นที่ ตั้งแต่ระดับหมู่บ้าน จนถึงระดับชุมชนใหญ่ ให้เกิดความรักหวงแหน และความเป็นเจ้าของป่าด้วยกัน
2. สร้างจิตสำนึกและอุดมการณ์ร่วมกัน ในการป้องกันรักษาป่า ระหว่างเจ้าหน้าที่ของรัฐ กับราษฎรในพื้นที่ให้เป็นรูปธรรม
3. เพื่อให้ราษฎรผู้ผ่านการฝึกอบรม มีความรู้ ความเข้าใจ ต่อทรัพยากรป่าไม้ สัตว์ป่า และวิธีการอนุรักษ์ ตลอดจนผลกระทบ ด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อขยายผลสูญาติพี่น้อง ในครอบครัวต่อไป
4. เพื่อเป็นทักษะขั้นพื้นฐานที่ควรรู้ ให้กับราษฎรเพื่อสิทธ ิและประโยชน์อันพึงได้รับจากรัฐ
5. เพื่อจัดตั้งองค์กร ราษฎรอาสาสมัครพิทักษ์ป่า (รสทป.) ในชุมชน

เป้าหมาย
1. ราษฎรในหมู่บ้าน ที่อยู่ชิดพื้นที่ป่าอนุรักษ์ ได้แก่ อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เขตห้ามล่าสัตว์ และป่าสงวนแห่งชาติ และเป็นความเร่งด่วนอันดับ 1
2. ราษฎรในหมู่บ้านที่อยู่ใกล้ชิด พื้นที่ป่าอนุรักษ์ออกมาตามลำดับ เป็นความเร่งด่วนอันดับ 2 

2. โครงการธงพิทักษ์ป่าเพื่อรักษาชีวิต

เป็นการคัดเลือก หมู่บ้าน/ชุมชน ที่ให้ความร่วมมือ ในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ ในชุมชนของตนเอง ให้มีสภาพอุดมสมบูรณ ์ไม่มีการลักลอบตัดไม้ ทำลายป่า หรือบุกรุกพื้นที่ป่า ซึ่งทำการคัดเลือก โดยคณะอนุกรรมการ ดำเนิน โครงการธง "พิทักษ์ป่า เพื่อรักษาชีวิต" แล้วทูลเกล้าฯ ถวายสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เพื่อขอพระราชทานธง "พิทักษ์ป่า เพื่อรักษาชีวิต" ให้กับชุมชน ลักษณะของธง จะปรากฏภาพช้าง อยู่ในป่าอยู่ภายใต ้พระปรมาภิไธยย่อ สก.

คณะกรรมการ โครงการธง "พิทักษ์ป่า เพื่อรักษาชีวิต" จึงได้คัดเลือกชุมชน ที่มีผลงานอนุรักษ์ ทรัพยากรป่าไม้ เป็นผลดี เข้ารับพระราชทานธงพิทักษ์ป่า เพื่อรักษาชีวิต ตั้งแต่ ปีพุทธศักราช 2539 เป็นต้นมา


โครงการธง "พิทักษ์ป่า เพื่อรักษาชีวิต"

ความเป็นมาโครงการ

ธง "พิทักษ์ป่า เพื่อรักษาชีวิต" นี้เป็นธงที่ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงพระราชทาน ให้แก่ราษฎรเป็นหมู่บ้าน/ชุมชน ที่ได้ร่วมกันดูแลหวงแหน อนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ ของหมู่บ้าน/ชุมชน ของชาติเป็นส่วนรวม โดยได้ร่วมแรงร่วมใจกัน อนุรักษ์ป่าไม้ในหมู่บ้าน/ ชุมชนของตน รักษาชีวิตสัตว์ป่า รักษาสิ่งแวดล้อม โดยไม่เข้าไปตัดไม้ทำลายป่า แผ้วถางทำไร่เลื่อนลอย หรือล่าสัตว์


ลักษณะของธง "พิทักษ์ป่า เพื่อรักษาชีวิต" เป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาด กว้าง 80 เซนติเมตร ยาว 114 เซนติเมตร โดยประมาณ ผืนธงเป็นสีฟ้า ภายในธงประกอบไปด้วย ส่วนบน กลางผืนธง จะเป็นพระมหามงกุฎ มีพระปรมาภิไธยย่อ "สก" อยู่ภายในรูปวงรี ส่วนกลางผืนธง จะเป็นต้นไม้สองต้น ระหว่างกลางจะมีช้าง จำนวน 1,2 หรือ 3 เชือก ส่วนกลางผืนธง จะมีแถบสะบัดขึ้นกลางแถบมีคำว่า "พิทักษ์ป่า เพื่อรักษาชีวิต" ของธงปักด้วยไหมสีน้ำเงิน


ความหมายของธงและสี

สีฟ้า เป็นสีประจำพระองค์สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ

สีเขียว หมายถึง ความชุ่มชื่น ร่มเย็น

สีเหลือง หมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง

ต้นไม้ แสดงถึงป่าไม้

ช้าง แสดงถึงป่าที่อุดมสมบูรณ์

หลักเกณฑ์การพิจารณาพระราชทานธง "พิทักษ์ป่า เพื่อรักษาชีวิต"

ชั้นที่ 1 ธง "พิทักษ์ป่า เพื่อรักษาชีวิต" มีช้างประกอบ 1 เชือก บนผืนธง จะพระราชทานให้แก่ กลุ่มราษฎรที่ได้รวมตัวกัน รักษาป่าจนเป็นที่ยอมรับ จากประชาชนในระดับ ตำบล อำเภอ จังหวัด มีการจัดตั้งองค์กร ในการดูแลรักษาป่าไม้ ตั้งแต่ 1 ถึง 5 ปี มีกฎเกณฑ์คือ การดูแลรักษา และใช้ประโยชน์จากป่า มีพื้นที่ดูแลรักษา ไม่น้อยกว่า 300 ไร่ สภาพป่าบางสวน อยู่ในระหว่างฟื้นตัวตามธรรมชาติ ไม่มีการบุกรุกแผ้วถางป่าไม้

ชั้นที่ 2 ธง "พิทักษ์ป่า เพื่อรักษาชีวิต" มีช้างประกอบ 2 เชือก บนผืนธง จะพระราชทานให้แก่ กลุ่มราษฎรที่ได้รวมตัวกัน รักษาป่าจนเป็นที่ยอมรับ จากประชาชนทั่วไปในระดับภูมิภาค มีการจัดตั้งองค์กร ในการดูแลรักษาป่าไม้ ตั้งแต่ 5 ถึง 10 ปี มีกฎเกณฑ์คือ การดูแลรักษา และใช้ประโยชน์จากป่า มีพื้นที่ดูแลรักษา ไม่น้อยกว่า 500 ไร่ สภาพป่าบางสวน อยู่ในระหว่างฟื้นตัวตามธรรมชาติ ไม่มีการบุกรุกแผ้วถางป่าไม้

ชั้นที่ 3 ธง "พิทักษ์ป่า เพื่อรักษาชีวิต" มีช้างประกอบ 3 เชือก บนผืนธง จะพระราชทานให้แก่ กลุ่มราษฎรที่ได้รวมตัวกัน รักษาป่าจนเป็นที่ยอมรับ จากชุมชนระดับท้องถิ่น จนถึงระดับประเทศ มีการจัดตั้งองค์กร ในการดูแลรักษาป่าไม้ ตั้งแต่ 10 ปี ขึ้นไป มีกฎเกณฑ์ในการดูแลรักษา และใช้ประโยชน์จากป่า อันไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อป่า มีพื้นที่ดูแลรักษา ไม่น้อยกว่า 1,000 ไร่ สภาพป่าสมบูรณ์ ไม่มีการบุกรุกแผ้วถางป่าไม้

ศปร.กอ.รมน.ภาค 2 ค่ายสุรนารี อ.เมือง นครราชสีมา